การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ โดยการใช้ Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกระทำต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพิชัย อำเภอ พิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 36 คน และจัดเป็นประชากรการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) พัฒนา Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนสำหรับการจัดการเรียนรู้เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยทดลองใช้ Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชากรที่มีต่อการทดลองใช้ Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ การวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการกึ่งทดลอง ประชากรเป็นประชากรจำนวนทั้งหมด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบเรื่องการหายใจระดับเซลล์ และแบบวัดระดับความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (m) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า
Google Site ที่พัฒนาประกอบด้วย ชุดวิดีโอเรื่องการหายใจระดับเซลล์จำนวน 6 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนจำนวน 5 แผน ภายหลังนำนวัตกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวมาทดลองใช้กับประชากรแล้วประเมินผลโดยเปรียบเทียบนักเรียนระดับชั้น ม. 4/2 ของปีการศึกษาก่อนหน้าพบว่า มีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า ดี หรือมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นเกณฑ์ประเมินผ่านระดับชั้นเรียน เป็นระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.19 และมีความระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับ มากทีสุด
คำสำคัญ: Google Site; การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน; ผลการเรียนรู้; เกณฑ์ประเมินผ่าน
ระดับชั้นเรียน; ระดับผลการเรียนรู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย งานวิชาการความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนเท่านั้นคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความคิดเห็นที่ปรากฎในบทความแต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และกองบรรณาธิการ
References
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย (12 ตุลาคม 2562). พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Cone of Learning). https://touchpoint.in.th/cone-of-learning/
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
กุศลิน มุสิกุล.(ม.ป.ป.). การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์. https://earlychildhood.ipst.ac.th/wpcontent/uploads/sites/25/2014/09/sience_knowled_search.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรรยา โท๊ะนาบุตร.(2560). รูปแบบการเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ในศตวรรษที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ; ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). อินเตอร์เน็ตเครือข่ายเพื่อการศึกษา กรุงเทพฯ : วงกมลโปรดักชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะนันท์ ธีรานุวัฒน์. (2554). ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E. (น. 119-127).
พัทธพล ฟุ้งจันทึก. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ วิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น. ปัญหาพิเศษ คอ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ ชูศรี.(2556). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพ. (ม.ป.พ.). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทธิรา มากทรัพย์. (2554). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การคูณทศนิยม โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ม.ป.พ.). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลัดดาวรรณ ศรีฉิม.(2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วยโปแกรม Google Site ตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . เทคนิค TAL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ม.ป.พ.). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.(2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา .(2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อิงอร นิลประเสริฐ และคณะ. (2557). Google Site.https://noppakornru.files.wordpress.com/2012/09/google_sites.pdf
อัญชลี โอ่งเจริญ .(2558). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่อง การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google Site กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.