การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

วิลันดา พรหมแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินผลประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (3) เพื่อพยากรณ์และนำเสนอ แนวทางของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 376 คน ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย (1) ประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่และประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง และ (3) ปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นส่งผลต่อประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
พรหมแก้ว ว. . (2025). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์, 3(1), หน้า 13–25. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/1017
บท
บทความวิจัย

References

เทศบาลตำบลไร่ใหม่. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570). ประจวบคีรีขันธ์: เทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

ธนิศร ยืนยง. (พฤษภาคม - สิงหาคม 2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.

นิตฐพร โพธิ์รักษา, ภมร ขันธะหัตถ์ และ ธนิศร ยืนยง. (กันยายน - ธันวาคม 2566). ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 17(3), 143-160.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร). (2560). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนำไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อรรถเรศน์ ปูระณะสุวรรณ์ และวรสิทธิ์ เจริญพุฒ. (กันยายน-ธันวาคม 2562). ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 1(3), 161-172.

อริสรา หงษาชุม และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (มกราคม-เมษายน 2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(1), 99-109.

Allen, L. A. (1958). Organization and Management. New York: McGraw-Hill.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation : concept and measure for project design. implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Gibson, J. L., Ivancevich, M. J., & Donnelly, H. James. (1979). Organizational : Behavior, Structure, Process (3rd ed). Dallas; Texas : Business Publications, Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed). Singapore : Harper International Editor.