การจัดการนวัตกรรมการบริการประชาชน สำนักงานสรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

อัคคภพ ทยานศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินการจัดการนวัตกรรมการบริการประชาชนสำนักงาน สรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการสำนักงาน สรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อการจัดการ นวัตกรรมการบริการประชาชน (3) เพื่อ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการนวัตกรรมการบริการประชาชน สำนักงานสรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการนวัตกรรมการบริการประชาชน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการและบุคลากรสังกัด กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ทำการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของยามาเน จำนวน 252 คน ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและสหสัมพันธ์ เพียรสัน ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ด้านการจัดการ นวัตกรรมการบริการประชาชน สำนักงาน สรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมาก (2) ด้านเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการสำนักงาน สรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อการจัดการ นวัตกรรมการบริการประชาชนจำแนกด้วย ลักษณะประชากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการนวัตกรรมการบริการประชาชน สำนักงานสรรพสามิตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการนวัตกรรมการบริการประชาชนเป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ : กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ

องค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 15-24.

ธีรพล วินิจวัฒนโกมล. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการนวัตกรรม ในองค์การ

ภาครัฐไทย.เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/266478.

ปัญญา เลิศไกร, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, ลัญจกร นิลกาญจน์ และกฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2562).

การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร. Journal of MCU Nakhondhat, 6(8), 3745-3757

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2562). ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมเพื่อผลการดำเนินงานของ องค์กรที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Anan, K. (2017). Digital Government. Annual meeting 2017 by Office of the National Economic

and Social Development Council: Drive plan number 12 to the future of Thailand, 1-12.

Damanpour, F. (1987). The Adoption of Technological, Administrative, and Ancillary Innovations:

Impact of Organizational Factors. Journal of Management. 13(4), 675-688.

Gibson and Other. (1982). Organizational: Behavior, Structure, Process Behavior. Dallas, Taxas:

Business Publication, Inc.

HREX.asia. (2019). การพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ .

เข้าถึงได้จาก: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190610-organization-development-od,

มิถุนายน 2566.

KPMG. (2017). Destination (Un) Know. Retrieved from: www.kpmg.com/digital.

Louis A. Allen. (1958). Management and Organization. McGraw-Hill, 1958 - 353 USA

Phithuwan, K. (2016). Thai government and stepping into the digital government. The Secretariat of

the House of Representatives.