ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 329 ราย ได้แก่ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดเพชรบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรีที่มีเพศและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ไม่แตกต่างกันส่วนคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรี ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงศักดิ์ วงศ์สุกรรม. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่งนตำบล
ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์
พยอม วงศ์สารศรี. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
รัฐพล ศรีกตัญญู. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานอาคารกลาสเฮ้าส์รัชดาภิเษก. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และสมชาย หิรัญกิตติ. (2530). การบริหารสำนักงานแบบใหม่ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์พัฒนาการศึกษา.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2523). การบริหารบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 20
ปี พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับปรับปรุง). เข้าถึงได้จาก : http://intranet.ect.go.th/, 1 มีนาคม 2566.
Maslow. A.H. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harper and Row, Publisher.