การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบลกะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

Main Article Content

เบียนนาร์ด ศึกแสนพ่าย
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในด้านกิจกรรมการออกเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ด้านกิจกรรมการพูดคุยปรึกษาเรื่องการเมืองรองลงมา และน้อยที่สุดคือด้านกิจกรรมการจัดตั้งและเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ทางการเมือง และเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนฯ พบว่า ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และการรับรู้สถานการณ์ทางการเมือง มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในขณะที่ เพศ อายุ ศาสนา และอาชีพ ไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง จากข้อมูลสรุปว่าประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีระดับการรับรู้สถานการณ์ทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับสูง ทั้งในเรื่องข้อมูลข่าวสารทางการเมือง สถานการณ์การเลือกตั้ง เครือข่ายชุมชนทางการเมือง และนโยบายและผลงานในพื้นที่ แต่ประชาชนในพื้นที่ยึดติดกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในแบบที่เรียบง่าย เช่น การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การพูดคุยปรึกษาเรื่องการเมือง แต่ยังไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองในประเด็นที่มีความซับซ้อน เช่น การเรียกร้องประเด็นสาธารณะ การจัดตั้งเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเมือง เป็นต้น ทำให้ระดับการการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2546). พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กนก จินดา. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กรมส่งเสริมการปครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

ดนุวัศ สุวรรณวงศ์. (2553). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ : ศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และเทศบาลเมืองปัตตานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นัทธ์หทัย ขันคูณจรูญรัตน์. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตย : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิมประไพ ดิชวงศ์.(2539). ความคาดหวังของประชาชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อคุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สรัช สิริสิงห. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหารภาครัฐโดยไม่ผ่านและผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. (2564). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ. นราธิวาส: องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ.

อัญธิษฐา อักษรศร. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยใช้หลักธรรมทศพิธราชธรรม. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(3), 161-178.