คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 305 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) นัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประเภทของตำแหน่งต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่ต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ชูชีพ. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กองเพชร อิ่มใจ. (2562).คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี, 2(2), 30-45.
จุฬารัตน์ คนเพียร. (2558). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริการส่วนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
ณภัทร ฉายแก้ว. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทศพร จิรกิจวิบูลย์. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและแนวทางในการปฎิบัติงานที่ดีที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจต่อพนักงานระดับปฏิบัติการในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม คณะสังคมศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Cummings, & Huse. (1989). Organization Development and Change. Minnesota:West Publishing company.
Davis, & E., L. (1977). Enhancing the Quality of Working Life : Developments in the United States. International Labour Review, 166(1), 53-56.
Walton. (1973). Quality of working life: What is it?. Slone Management Review, 15(10), 12-16.