การบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือทางกฎหมาย ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือทางกฎหมาย (2) เพื่อระบุปัญหา อุปสรรคการบูรณาการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือทางกฎหมาย (3) เพื่อเสนอแนวทางการบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือทางกฎหมายของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ จำนวน 395 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ประกอบธุรกิจ ผลการวิจัย (1) ด้านการประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง (2) ด้านปัญหา และอุปสรรคการบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า (ก) ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนขาดความเข้าใจในการบูรณาการอย่างเป็นระบบ (ข) ประชาชนประกอบอาชีพ ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม (ค) ภาครัฐมีงบประมาณจำกัด (ง) ภาครัฐขาดแคลนผู้มีทักษะด้านเทคโนโลยี (จ) ภาครัฐมีขั้นตอนล่าช้าไม่ทันความต้องการชุมชน (ฉ) ชุมชนขาดผู้นำกลุ่มทำให้ขาดการประสานงาน (ช) ประชาชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวเรื่องความปลอดภัย (ซ) ภาครัฐขาดแคลนนวัตกรรมสารสนเทศที่ทันสมัย และ (3) ด้านการเสนอแนวทางการบูรณาการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือทางกฎหมาย พบว่า (ก) ด้านการตัดสินใจ ภาครัฐควรจัดให้มีช่องทางในการรับความคิดเห็น ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ (ข) ด้านการดำเนินงาน ภาครัฐควรประสานความร่วมมือภาคเอกชน ภาคประชาชน พัฒนาการอย่างยั่งยืน (ค) ด้านการรับผลประโยชน์ ภาครัฐควรส่งเสริม และสนับสนุนผู้นำชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเชื่อมโยงชุมชนให้ทั่วถึง และ (ง) ด้านการติดตามประเมินผล ภาครัฐควรเปิดเผยการใช้งบประมาณในโครงการ ทำประชาพิจารณ์ก่อนและหลัง จัดโครงการฯ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2553). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ชินรัตน์ สมสืบ. (2553) . การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูโชค ทิพยโสตถิ. (2545). การสำรวจทัศนคติต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านงานทะเบียน ราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของสำนักงานเขตบางนา. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันท์ชพร การสมดี. (2554) การมีส่วนร่วมการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองเล็น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
พาณี เรียงทอง และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัสสุรีย์ คูณกลาง. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชน ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มาลินี นกศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ธรรมรักษ์ ออโตพาร์ท จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
Ansell, C., and Alison, G. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543-571.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Geert, B. (1994). Governance between Legitimacy and Efficiency: Citizen Participation in the Belgian Fire Services. In Modern Governance: New Government-Society Interactions, edited by Jan Kooiman (London, Thounsand Oaks, New Delhi: Sage Publication, 1994), pp. 146-167.
Helen, S., & Chris, S. (2002.Working Across Boundaries: Collaboration in Public Services New York: Palgrave Macmillan. Kasperson, R. E., & Breitbank. (1974). Participation, Decentralization and Advocacy Planning. Washington D.C.: Association of American Geographers.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Yoder, D. (1985). Personnel Principles and Policies. New Jersey : Prentice-Hall.