นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

Areerat Gwangkwang

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ และ (3) เพื่อประเมินนวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากประชากรจำนวน 870 คน ซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการในสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการในสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นต่อด้านการพัฒนาหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (2) นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 18 แนวทาง และ (3) การประเมินนวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์มีผลการประเมินสถิติด้านความถูกต้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย