ความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

อุบลวรรณ อังสุวร
วัชรินทร์ ชาญศิลป์

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวุดสุพรรณบุรีที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล    2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ตามปัจจัยส่วนบุคคล


          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 48 คน โดยใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เห็นด้วยอย่างมากต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุงาน รายได้ต่อเดือน ไม่มีผลต่อความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2547). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ปรีดี โชติช่วง และคณะ .(2536). การพัฒนาชุมชนและการบริหารงานพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2536). การบริหารงานพัฒนาชนบท การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาสภาตําบล: สาเหตุและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2546. คู่มืออธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สิริบุตรการพิมพ์.

Remmers, H.H. and H.L. Gage. (1965). Francis Rummel, Practical Introduction to Measurement and Evaluation. (2nd ed). New York: Harper & Row.

Isaak, A.C. (1981). Scope and Method of Political Science: An Introduction to the Methodology of Political In Quiry. (3rd ed). Iillion: The Doreey Press.

Krejcie, R.V. and E.W Morgan. (1970). “Determinining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30, p.607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.