ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สรพงษ์ เกิดแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งครอบคลุมใน 4 ด้าน คือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน และด้านค่านิยมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 คน จากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จำนวน 100 คน และโรงเรียนสงวนหญิง จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์อยู่ในระดับมาก คือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน และด้านค่านิยมของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติภณ กิตยานุรักษ์. 2551. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. รายงานการวิจัย. หลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

กุลชลี ไชยนันตา. 2539. กระบวนการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประยูรวงศ์.

ฉัตยาพร เสมอใจ และคณะ. 2545. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ทองคูณ หงส์พันธุ์. 2542. สอนดีต้องมีหลัก : บัญญัติ 20 ประการของงานสอน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

ทิพย์วัลย์ สีจันทร์ และคณะ. 2548. การคิดและการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธำรง บัวศรี. 2542. ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร:พัฒนศึกษา.

นงเยาว์ สุคำภา. 2547. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสุรนารี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. 2546. การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาร์น.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สำนักวิจัยและบริการวิชาการ. 2545. ความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในเขตจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2545. สำนักวิจัยและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วันชัย ตันศิริ. 2549. อุดมการณ์ทางการศึกษา : ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

วันเพ็ญ จินะชิต. 2542. การสำรวจความสนใจในการเลือกศึกษาสาขาอาชีพของนักเรียนชาวไทยภูเขาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกองการศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. 2535. ความลับขององค์การ : พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ.

ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. 2543. องค์การและการจัดการ (Organization and Management). พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมบุญ ตันสกุล. 2550. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 3(2), หน้า 13 – 19.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. 2549. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แสงเดือน อินทร์ลือ. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาของนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Stoner. A. E. Jame. 1978. Management. New Jersey: Prentice-Hall.