การจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายไปปฏิบัติและการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากตัวแทนสถานประกอบการในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 จำนวน 400 คน โดยวิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) การจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (2) การจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของผู้สถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อ จำแนกด้วย ลักษณะประชากร ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านรายใด้ แต่เมื่อจำแนกด้วย ลักษณะประชากร ด้านระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานครกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมเป็นเชิงบวกในระดับปานกลาง ค่อนข้างสูง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2564). รายงานสถานการณ์แรงงานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน.
จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษาบัณฑิตพัฒนาศิลป์ [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
นิกรณ์ ขาวสะอาจ. (2558). มาตรการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมต่อแรงงานนอกระบบในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
บรรจง โตเปาะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (2533). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 107 ตอนที่ 161 ก หน้า 1.
เลอลักษณ์ เครื่องนันตา. (2563). ปัญหาการบังคับใช้มาตรการสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคมของ แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด. สำนักงานบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิมลสิริ ลำดับวงศ์. (2563). การจัดการส่งเสริมความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สำนักงานประกันสังคม. (2565). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานประกันสังคม.
Louis A. Allen. (1958). Management and organization. McGraw-Hill.
Srisaat, B.(2002). Basic research(6thed).Suwiriyasan.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). Singapore: Harper International Editor.