สมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก (2) ประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่แตกต่างกัน (3) การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดิสพงศ์ จันทร์นิล. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ทักษิณ ประชามอญ. (2564). บริบทและการพัฒนาการเมืองระดับท้องถิ่นไทย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เทศบาลตำบลไร่เก่า. (2566). คำสั่งเทศบาลตำบลไร่เก่า ที่ 1189/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องจริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. ประจวบคีรีขันธ์ : เทศบาลตำบลไร่เก่า.
พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ และ พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร. (2565). นักการเมืองท้องถิ่นในระบบราชการ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ (Journal of Interdisciplinary Innovation Review), 5(1), 177-194.
พระครูวิมลภาณ รัชตมงคลชล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 89-100.
รัชยา ภักดีจิตต์. (2562). ธรรมาภิบาล เพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน = Good governance, public and private management (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลัยลักษณ์ ไพรสณฑ์. (2561). สมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 27-34.
วาสนา เก้าเอี้ยน. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2560). รูปแบบสุขภาวะในองค์การ ธรรมาภิบาล และหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ และการเป็นสมาชิกที่ดี ของพนักงานในตลาดสี่มุมเมือง. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 28-29 กันยายน 2560, 710-722.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
Boyatzis, R. E. (1982). The Competent Manager: A model of Effective Performance. NewYork : John Wiley and Sons Inc.
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than Intelligence. American Psychologists, 28(1), 1-14.
Spencer, L.M. & Spencer S. M. (1993). Competence at work. New York: John Wiley.
Yukl, G. (1998). Leadership in organizations (4thed.). Prentice –Hill.