รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ไปปฏิบัติ

Main Article Content

Sukanya Rueangrup

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ไปปฏิบัติ (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ กับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 230 คน ได้แก่กลุ่มผู้ประกอบการเกษตรมูลค่าสูงเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย (1) การนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ กับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี สามารถพยากรณ์ การนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ได้ร้อยละ 87.6  ประกอบด้วย รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติประกอบด้วยปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ มาตรฐานของนโยบาย คุณลักษณะของ อบจ. ปราจีนบุรี สภาพเศรษฐกิจและสังคมการเมือง การมีส่วนรวมดำเนินการ การมีส่วนร่วมรับประโยชน์                          

Article Details

How to Cite
Rueangrup, S. . (2024). รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ไปปฏิบัติ. วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์, 2(3), หน้า 59–72. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/679
บท
บทความวิจัย

References

นักรบ เถียรอ่ำ, ชูวงศ์ อุบาลี, วงธรรม สรณะ, และอังศุมาริน สุชัยรัตนโชค. (2564). การบริหารจัดการนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ ของกลุ่มผู้ผลิตมังคุด อำเภอนายายอามจังหวัดจันทบุรี. วารสารพัฒนาสังคม, เล่มที่ 23, ฉบับที่ 1 (2564), 183-195.

รุ่งนภา ตรีแก้ว. (2560). ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสารพิษไปปฏิบัติ กรณีศึกษา สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิสิทธิ์ รัตนะ, ภรณี ต่างวิวัฒน์, และบำเพ็ญ เขียวหวาน. (2559). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านถ่อนนาลับในจังหวัดอุดรธานี, วารสารแก่นเกษตร, ปีที่ 44 หน้า 612-618.

Chamberlain, J. (2019). Community Participation and Agricultural Policy Implementation: Challenges and Opportunities. Rural Development Journal.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure

for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

FAO. (2018). Agricultural Value Chains for Sustainable Development. Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Gibson, J.H., John, M.I. & James H.D. (1982). Organizations: Behavior structure and Processes.

(4th ed.), Austin, TX: Business Publication.

United Nations. (2015). Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development. United Nations General Assembly.

Van Horn, Carl E., And Donald S. Van Meter. (1976). The Implementation of Intergovernmental Policy. Public Policy Making in a Federal System. California: Sage Publications, Inc.

World Bank. (2020). Effective Policy Implementation in Agricultural Development. World Bank Publications.