ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นันทพร วิเศษ -

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ , นักท่องเที่ยว, ดอยอ่างขาง , อำเภอฝาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2. ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 3. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่บนดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อความพึงพอใจและรูปแบบการท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง
  2. พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนมาก คือ ไม่เคยมา ยานพาหนะที่ใช้เดินทางมากที่สุด คือ รถเช่า จำนวนวันที่เดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ค้างคืนจำนวน 1 คืน จำนวนสมาชิกที่ร่วมเดินทางมากที่สุด คือ 3 - 4 คน โดยมีบุคคลที่ร่วมเดินทางมากที่สุด คือ แฟน คู่รัก สามีภรรยา ซึ่งวัตถุประสงค์การเดินทางมากที่สุด คือ พักผ่อน และข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด คือจากโซเชียล
  3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ รายได้ และอาชีพ มีความพึงพอใจและรูปแบบการท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน แต่นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจและรูปแบบการท่องเที่ยว บนดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน

References

พัชราภรณ์ ทิพย์ดวง. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวสถานีเกษตรหลวง อ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วิวัตน์ จันทร์กิ่งทอง. (2562). ปัจจัยเหตุและผลของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยาน แห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 35(2), 59-72. Retrieved from https://so06.tcithaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/194266.

วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2555). ตัวแบบสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออุทยานแห่งชาติทางทะเลในภาคใต้ของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วารัชต์ มัธยมบุตร. (2552). รูปแบบการบริหารการจัดการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สราญรัตน์ จันทร์นนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทาง มาท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมชาติ อู่อ้น. (2552). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการวางแผน. นครปฐม : (ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cohen, L. J. (1977). The probable and the provable. Oxford University Press.

Goeldner, C. R., & Ritchie, J. B. (2011). Tourism: Principles, practices, philosophies. John Wiley & Sons.

Good, Carter Victer. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.

Oliver, R. L., Rust, R. T., & Varki, S. (1997). Customer delight: foundations, findings, and managerial insight. Journal of retailing, 73(3), 311-336.

Wolman, B. B. (1973). The psychoanalytic interpretation of history. The Journal of Nervous and Mental Disease, 156(1), 71-72.

Quirk, P. J. (1989). The cooperative resolution of policy conflict. American Political Science Review, 83(3), 905-921.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/14/2025

How to Cite

1.
วิเศษ น. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. J. Innov. Sustain. Bus. Manag. [อินเทอร์เน็ต]. 14 พฤษภาคม 2025 [อ้างถึง 23 พฤษภาคม 2025];1(1):12-21. available at: https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JISBM/article/view/614