แรงจูงใจในการบริโภคเครื่องสำอางสมุนไพรของวัยรุ่นไทย

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ซุ่ยรักษา

คำสำคัญ:

เครื่องสำอางสมุนไพร, แรงจูงใจ, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษาแรงจูงใจในการบริโภคเครื ่องสำอางสมุนไพรของวัยรุ ่นไทย โดยกลุ ่มตัวอย่างคือผู ้บริโภควัยรุ ่นที ่มีอายุ
ในช่วง 15 – 24 ปี จำนวน 400 คน เครื ่องมือที ่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที ่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี ่ ย (Mean) ส่วนเบี ่ ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าสถิติ t-Test และ One Way ANOVA ที ่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที ่ระดับ 0.05

              ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการ บริโภคเครื ่องสำอางสมุนไพรของวัยรุ ่นไทย กลุ ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.97) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อในประโยชน์สมุนไพรมีค่าเฉลี ่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x}=4.19) รองลงมาคือด้านสินค้ามีมาตรฐานปลอดภัย (gif.latex?\bar{x}=4.11) ด้านความเชื่อในคุณภาพ (gif.latex?\bar{x}=3.90) ด้านการพบ สินค้าจากการไปเที ่ยวงานสมุนไพร (gif.latex?\bar{x}=3.86) และด้านความต้องการทดลองสินค้า (gif.latex?\bar{x}=3.78) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างกลุ่มพบว่า เพศระดับการศึกษา และรายได้เฉลี ่ยต่อเดือน ต่างกัน มีแรงจูงใจในการบริโภคเครื ่องสำอางสมุนไพรของวัยรุ ่นไทยในภาพรวม แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ ่มที ่มีแรงจูงใจในการบริโภคเครื ่องสำอางสมุนไพรสูง คือ กลุ ่มเพศหญิง ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย และอนุปริญญาหรือ ปวส. มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 บาทต่อเดือน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28