นวัตกรรมถ่านชีวภาพจากกระบวนการวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศิริพร บุตรทา
  • จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์

คำสำคัญ:

ถ่านชีวภาพ, วนเกษตร, นวัตกรรม, เขตปฏิรูปที่ดิน, ประโยชน์ถ่านชีวภาพ

บทคัดย่อ

           ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์สามารถผลิตโดยผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส ที ่อุณหภูมิเฉลี่ย 300 - 700 องศา
เซลเซียส ภายใต้สภาวะที่ไม่ใช้ออกซิเจน หรือใช้ออกซิเจนน้อยมากทำให้ได้วัสดุที ่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก มีน้ำหนักเบา โครงสร้างภายในเป็นรูพรุน มีพื้นที่ผิวสูง และมีประจุเป็นลบ นิยมนำมาใช้ทางการเกษตรเป็นวัสดุปรับปรุงดินเป็นแหล่งกักเก็บธาตุอาหารและจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี
นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการบำบัดของเสียในสิ่งแวดล้อม จึงเป็นวัสดุที่มีความน่าสนใจ บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับองค์ความรู้นวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพที่เกิดจากการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ร่วมกับความรู้ทางหลักวิทยาศาสตร์ โดยนำสารชีวมวลที ่เป็นวัสดุเหลือทิ ้งจากกระบวนการวนเกษตรในเขตปฏิรูปที ่ดินจังหวัดอุดรธานีมาใช้เป็นวัตถุดิบตั ้งต้น เพื ่อเพิ ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังได้อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของถ่านชีวภาพและผลลัพธ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-29