การมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรณีศึกษาสภาองค์กรชุมชนในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ชัชพล รัตนบรรณกิจ
สวิชญา เครือบคนโท
ธนพัฒน์ จงมีสุข
ภรัญโรจน์ ศิวรังสีรัชต์

บทคัดย่อ

    การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารงานท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมและปัจจัยจูงใจในการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารงานท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการมีส่วนร่วมสภาองค์กรชุมชน การวิจัยได้กำหนดตัวแปรมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม (3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ (4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของการบริหารท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ และจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนอำเภอนางรอง จาก 4 เขต จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างโดยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test)


           ผลการวิจัย (1) ระดับการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.43, S.D. =0.65) (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมสภาองค์กรชุมชนในการบริหารงานท้องถิ่น พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และปัจจัยจูงใจไม่แตกต่าง ระดับการศึกษามีความแตกต่างทั้งนี้เนื่องด้วยสภาพระดับการศึกษาส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจต่อการเข้ามีมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ (3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายรับใช้ในเชิงการวางแผนในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชนในพื้นมีเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และบริการวิชาการร่วมหน่วยงานต่างๆ

Article Details

How to Cite
รัตนบรรณกิจ ช., เครือบคนโท ส., จงมีสุข ธ., & ศิวรังสีรัชต์ ภ. (2024). การมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรณีศึกษาสภาองค์กรชุมชนในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2(2), 31–48. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/592
บท
บทความวิจัย