การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านก้านเหลือง หมู่ 6 ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขความร่วมมือของประชาชน 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 238 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนด้วยสถิติ การวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม (𝑥̅=4.50) อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมาด้านการเมืองและการบริหาร (𝑥̅=4.44) ด้านร่วมรับรู้ (𝑥̅=4.20) ด้านสังคมและเศรษฐกิจ (𝑥̅=4.17) ด้านร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็น (𝑥̅=4.08) ด้านร่วมรับผล (𝑥̅=4.25) อยู่ในระดับมาก ด้านร่วมดำเนินการ (𝑥̅=4.12) อยู่ในระดับปานกลาง และด้านร่วมคิดร่วมตัดสินใจ (𝑥̅=4.06) อยู่ในระดับน้อยสุด เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหุคูณเมื่อเพื่อทำนายอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน พบว่าด้านสังคมและเศรษฐกิจ (𝜷=.341) ด้านการเมืองและการบริหาร (𝜷=.204) ด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม (𝜷=.133) มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านก้านเหลืองอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่0.5
ผลการศึกษาวิจัยพบว่าเนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนให้กับผู้นำชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงบริการภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างความมุ่งมั่นในการที่ผลักดันการบริหารจัดการภาครัฐ