Publication Ethics
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณาเนื้อหาและคุณภาพของบทความในเบื้องต้น เกี่ยวกับเนื้อหาของบทความว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รูปแบบของวารสาร ความเข้มข้นของบทความ การคัดลอกผลงานทางวิชาการ การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และพิจารณาคุณภาพโดยรวมของบทความก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความต่อไป
2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะต้องพิจารณาบทความโดยยึดหลักของคุณธรรมและจริยธรรม โดยไม่ใช้อคติหรือความรู้สึกส่วนตนในการพิจารณาบทความเรื่องนั้น
3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินบทความ โดยจะต้องกำหนดหรือคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความนั้นๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดนั้นจะต้องไม่เป็นผู้ที่มาจากหน่วยงานเดียวกันกับผู้เขียนเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ และจะต้องไม่เรียกรับผลประโยชน์ใดๆ เพื่อให้ผู้เขียนได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ เช่น การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อความรวดเร็วในการประเมินบทความ การลัดขั้นตอนเพื่อช่วยผู้เขียนบางท่านสามารถตีพิมพ์บทความได้เร็วขึ้น การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อพิจารณาบทความได้รวดเร็วขึ้น
5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยหรือนำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความของผู้เขียนบทความไปเผยแพร่หรือใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
6. บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้เขียนบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิและข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความให้ผู้เขียนหรือผู้ไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากวารสารมีการประเมินคุณภาพแบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double blinded peer review) เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น
7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารจะต้องกำกับการดำเนินการต่างๆ ของวารสารและควบคุมดูแลคุณภาพของวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
บทบาทหน้าที่ของผุู้เขียนบทความ
1. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่ส่งผลงานทางวิชาการเรื่องเดียวกันเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นพร้อมกันหลายฉบับ หากต้องการยกเลิกการส่งผลงานจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบเป็นลายลักษณ์อักษรและจะต้องได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการจากวารสารก่อนจึงจะสามารถนำบทความเรื่องนั้นไปส่งวารสารอื่นที่ต้องการได้
2. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่ตีพิมพ์ซ้ำผลงานของตนเอง (Self Plagiarism) หรือมีการนำบทความเดิมมาปรับชื่อเรื่องใหม่หรือเนื้อหาเพียงเล็กน้อย โดยรายละเอียดและเนื้อหาบทความเหมือนกับบทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปแล้ว
3. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่คัดลอกผลงานของตนเอง หากมีการนำผลงานของตนเองมาใช้ในการเขียนบทความจะต้องมีการอ้างอิงทั้งในส่วนของเนื้อหาและส่วนของเอกสารอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วน
4. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้เขียนท่านอื่น หากมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นจะต้องระบุแหล่งที่มาและอ้างอิงผลงานนั้นๆ ทุกครั้ง
5. รายชื่อผู้เขียนที่ปรากฎในบทความจะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบทความ และทางวารสารไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมรายชื่อภายหลัง
6. ผู้เขียนจะต้องนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยอย่างถูกต้องตรงไปตรงมาตามที่ได้รับจากการวิจัย โดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูล (Fabrication or Misrepresentation) จากความเป็นจริงและไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อรองรับผลลัพธ์ในงานวิจัยของตนเอง
7. ผู้เขียนจะต้องนำเสนอข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการวิจัย โดยไม่เสนอแนะความคิดเห็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
8. เมื่อผู้เขียนได้รับผลการประเมินบทความ ผู้เขียนจะต้องปรับแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งบทความที่แก้ไขตามคำแนะนำ หากต้องการชี้แจงประเด็นที่ได้รับการประเมินสามารถทำเอกสารเพื่อชี้แจงเมื่อแก้ไขบทความกลับมาได้
บทบาทหน้าที่ของผุู้ทรงคุุณวุฒิประเมินบทความ
1. ผุู้ทรงคุุณวุฒิประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยหรือนำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความไปเผยแพร่ในระหว่างการประเมินบทความ หรือนำข้อมูลจากบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง
2. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องประเมินบทความที่ได้รับมอบหมายอย่างเข้มข้นและให้ข้อเสนอแนะหรือเหตุผลทางวิชาการที่เป็นประโยชน์กับผู้เขียน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องประเมินบทความที่ได้รับมอบหมายให้ทันตามระยเวลาที่กำหนด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เขียนบทความ
4. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องพิจารณาบทความโดยใช้ความเชี่ยวชาญของตนเองกับเนื้อหาของความ หากพบว่าเนื้อหาของบทความไม่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของตนเองจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารรับทราบโดยเร็วและปฏิเสธในการประเมินบทความนั้น
5. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องประเมินบทความโดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมในการประเมินบทความ ไม่เอนเอียงหรือมีอคติต่อเนื้อหาบทความ ประเมินโดยใช้หลักทฤษฎีเชิงวิชาการมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความนั้นๆ โดยจะต้องไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตนโดยปราศจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ