การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์จะต้องจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
  • บทความที่ส่งพิจารณายังไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องไม่มีการคัดลอกผลงาน หากพบความซ้ำซ้อนของบทความเกิน 10% วารสารจะไม่รับพิจารณาบทความเรื่องนั้น
  • รายละเอียดข้อมูลในบทความจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้
  • การอ้างอิงในบทความจะต้องยึดตามรูปแบบตามที่วารสารกำหนด
  • การอ้างอิงจะต้องระบุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบทความเท่านั้น
  • การอ้างอิงจะต้องระบุแหล่งที่มาจะต้องสามารถตรวจสอบได้ และจะต้องมีการระบุ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ตและบทความวารสาร
  • ต้นฉบับบทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์จะต้องส่งในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word และไฟล์ pdf
  • ให้ผู้เขียนกรอก "แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อพิจารณานาส่งวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ" แนบพร้อมบทความ เพิ่่อเป็นข้อมูลในการติดต่อกับผู้เขียนต่อไป
  • กรณีบทความวิจัยมาจากโครงการวิจัยที่ได้รับการขออนุญาตการทำวิจัยในมนุษย์ สามารถแนบหลักฐานเพื่อแสดงประกอบบทความได้

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความเพื่อส่งพิจารณาตีพิมพ์

  1. พิมพ์ด้วยกระดาษ เอ 4 (พิมพ์หน้าเดียว) จำนวนไม่เกิน 15 หน้า (นับรวมบทคัดย่อ รูปภาพ ตารางที่ เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก)
  2. ส่วนประกอบของบทความวิจัย ประกอบด้วย บทคัดย่อ Abstract บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

หมายเหตุ: ทุกบทความต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์บทความเป็นภาษา
                   ต่างประเทศ จะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับบทความ

  • ขนาดกระดาษ เอ 4
  • กรอบของข้อความ ในแต่ละหน้าให้มีขอบเขตดังนี้ จากขอบบนของกระดาษ 1.25 นิ้ว ขอบล่าง 1.0 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 1.0 นิ้ว
  • ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ตัวอักษร ใช้บราววัลเลีย นิว (Browallia New) และพิมพ์ตามที่กำหนดดังนี้
    • ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) เป็นข้อความสั้นๆ และสื่อความหมายบ่งชี้ให้เห็นสาระสำคัญของเนื้อหา ขนาด 18 point กลางหน้ากระดาษ ตัวหนา
    • ชื่อผู้เขียนใส่ชื่อและนามสกุลใต้ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และพิมพ์ footnote ข้อมูลหน่วยงานของผู้เขียนทุกท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (คณะ, มหาวิทยาลัย, E-mail Address) ท้ายหน้าแรกของบทความนั้น

           หมายเหตุ ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เรียงลำดับโดยใส่ชื่อผู้เขียนบทความหลักเป็นชื่อแรก โดยระบุคำว่า “ผู้เขียนหลัก” ในภาษาไทย และคำว่า “Corresponding Author” ในภาษาอังกฤษ และชื่อผู้เขียนท่านอื่นให้เรียงลำดับตามการทำงานวิจัยจากมากไปน้อย

  • บทคัดย่อ และ Abstract
    • ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point กึ่งกลางหน้ากระดาษ ตัวหนา ข้อความบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรสั้น กระชับ ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของบทความ ขนาด 14 point, กำหนด ชิดขอบ ตัวธรรมดา
    • ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
  • คำสำคัญ (ตัวหนา) ให้พิมพ์ต่อจากบทคัดย่อ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความประมาณ 3-5 คำ ขนาด 14 point ตัวธรรมดา เว้น 1 ตัวอักษร ต่อ 1 คำ ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย “,” คั่นระหว่างคำ
  • Keywords (ตัวหนา) ให้พิมพ์ต่อจาก Abstract ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความประมาณ 3-5 คำ ขนาด 14 point ตัวธรรมดา โดยคำแรกของคำภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ คั่นแต่ละคำด้วยเครื่องหมาย และใส่เครื่องหมาย “,” คั่นระหว่างคำ

รายละเอียดบทความ

  • หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 point ตัวหนา กำหนดชิดซ้าย
  • หัวข้อรอง ขนาด 14 point ตัวหนา ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
  • เนื้อหา ขนาด 14 point กำหนดชิดขอบ ตัวธรรมดา ย่อหน้า 0.5 เท่ากับหัวข้อรอง (เฉพาะเริ่มต้นข้อความ/ ประเด็นใหม่) ส่วนอื่น กำหนดชิดขอบ
  • คำศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
  • ภาพและตารางที่
    • ให้ระบุคำว่า ภาพ หมายเลขภาพ และชื่อของภาพไว้ใต้ภาพประกอบ และจัดข้อความบรรยายภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
    • ให้ระบุคำว่า ตารางที่ หมายเลขตาราง และข้อมูลที่แสดงในตารางไว้ด้านบนของตาราง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า TABLE หมายเลขตาราง และข้อมูลที่แสดงในตารางไว้ด้านบนของตาราง                  
    • แหล่งที่มา ให้พิมพ์ห่างจากชื่อภาพประกอบหรือเส้นคั่นใต้ตารางที่ 1 บรรทัด (ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point, ตัวธรรมดา)

                                         ตัวอย่าง ภาพประกอบที่นำมาอ้างและการบอกแหล่งอ้างอิง

                                   

                                         ภาพที่ 1 แสดงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการเงิน

            ที่มา: รองศาสตราจารย์ สุพาดา สิริกุตตา และคนอื่นๆ. (2552). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด. หน้า 11.

                                          ตัวอย่าง ตารางที่นำมาอ้างและการบอกแหล่งอ้างอิง

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลปฐมภูมิกับข้อมูลทุติยภูมิ

ลักษณะ

ข้อมูลปฐมภูมิ  (Primary data)

ข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary data)

·     จุดมุ่งหมาย (Purpose)

·     กระบวนการ (Process)

·     ต้นทุน (Cost)

·     ระยะเวลา (Time)

·     สำหรับปัญหาที่กำลังวิจัยอยู่

·     ผู้ทำวิจัยต้องมีส่วนร่วมอย่างมากมาย (Very involved)

·     สูง

·     นาน

·     สำหรับปัญหาอื่น

·     รวดเร็วและง่าย (Rapid and easy)

·     ค่อนข้างต่ำ

·     รวดเร็ว

รูปแบบการเขียนอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิง (American Psychological Association: APA Style) 7th Edition

1. การอ้างถึงในหนังสือ

        - กรณีผู้แต่ง 1 คน

          อ้างอิง                          (พัทรียา หลักเพ็ชร, 2562, น. 2)

          การเขียนบรรณานุกรม    พัทรียา หลักเพ็ชร. (2562). การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิง                                                               กลยุทธ์เพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ. สำนัก   
                                               พิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

           อ้างอิงในเนื้อหา            หน้าข้อความ คอตเลอร์ (Kotler, 2017, pp. 20) หลังข้อความ (Kotler,
                                               2017, pp. 20)

           การเขียนบรรณานุกรม   Kotler, P. (2017). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital.
                                                Wiley.

    - กรณีผู้แต่ง 2 คน

           อ้างอิงในเนื้อหา            (จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์ และภีรพล คชาเจริญ, 2565, น. 50)

          การเขียนบรรณานุกรม     จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์ และภีรพล คชาเจริญ. (2565). The age of chief
                                                 maketing technologist 2022 CMT: ผู้นำการตลาดพลิกโลก
. ไอดีซี พรีเมียร์

          อ้างอิงในเนื้อหา              พอร์นเวล และเอวาน่า (Parnwell & Evana, 2001, pp. 30-40)

          การเขียนบรรณานุกรม      Parnwell, M. G., & Michael, J. G. (1966). Environmental change in
                                                 Southeast  Asia
. Routledge.

    - กรณีผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป

          อ้างอิงในเนื้อหา              (สิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ และคนอื่นๆ, 2562, น. 18)     

          การเขียนบรรณานุกรม      สิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์, อรวี สมิทธิผล และลินดา ไกรวณิช. (2562). การ
                                                 ตลาดแบบแรงดึงดูด.
อมรินทร์ฮาวทู.

          อ้างอิงในเนื้อหา               (Monroe et al., 2003, p. 5)

          การเขียนบรรณานุกรม      Monroe, R. L., Evona, D. J., Smith, C. T., & Hensly, Brown. (2003).
                                                 Co-Management of natural resource in Asia: A comparative 
                                                  perspective.
Nias Press.

           การเขียนบรรณานุกรม (สำหรับผู้แต่ง 3-20 คน) ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน คั่นแต่ละคนด้วย "," ก่อนคนสุดท้ายคั่นด้วย "และ" สำหรับภาษาไทย หรือ "&" สำหรับภาษาอังกฤษ

           การเขียนบรรณานุกรม (สำหรับผู้แต่ง 21 คน หรือมากกว่า) ให้ลงชื่อผู้แต่งจำนวน 19 คน คั่นแต่ละคนด้วย "," และตามด้วย ... ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย เช่นตัวอย่าง

           Wiskunde, B., Arslan, M., Fischer, P., Nowak, L., Van den Berg, O., Coetzee, L., Juárez, U., Riyaziyyat, E., Wang, C., Zhang, I., Li, P., Yang, R., Kumar, B., Xu, A., Martinez, R., McIntosh, V., Ibáñez, L. M., Mäkinen, G., Virtanen, E., ... Kovács, A. (2019). Indie pop rocks mathematics: Twenty one pilots, nicolas bourbaki, and the empty set. Journal of Improbable Mathematics, 27(1), 1935–1968. https://doi.org/10.0000/3mp7y-537

    - หนังสือที่มีบรรณาธิการรวบรวมบทความหรือรวมเรื่อง

           อ้างอิงในเนื้อหา              (วนิดา เหมะกุล, 2558, น. 50-55)

           การเขียนบรรณานุกรม      วนิดา เหมะกุล. (2555). การให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์. ใน ยุทธนา ลิลา และ
                                                   คนอื่นๆ
                                                   (บ.ก.), คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (น. 50-55).
                                                   สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

           อ้างอิงในเนื้อหา               (Stutchbury & Morton, 2023)

           การเขียนบรรณานุกรม      Stutchbury, B. J. M., & Morton, E. S. (2023). Chapter  2—Timing of
                                                   breeding. In B. J. M. Stutchbury & E. S. Morton (Eds.), Behavioral
                                                   Ecology of Tropical Birds
(2nd ed., pp. 9–20). Academic Press. 

    - หนังสือแปล

          อ้างอิงในเนื้อหา               (ชูเมกเกอร์, 2557, น. 15)

          การเขียนบรรณานุกรม      ชูเมกเกอร์, อี. เอฟ. (2557). Small is beautiful [จิ๋วแต่แจ๋ว: เศรษฐศาสตร์เชิง
                                                  พุทธ] พิมพ์ครั้งที่ 4). สมิต.

 2.การอ้างถึงในบทความในหนังสือ

          อ้างอิงในเนื้อหา                (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2540, น. 293-420)

          การเขียนบรรณานุกรม       จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2540). การวิจัยอนาคตแบบ EDRF. ใน ทิศนา แขมมณี   
                                                  และสร้อยสน สกลรักษ์ (บ.ก.), แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา
                                                  (น. 1–18). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

           อ้างอิง                              (McLennan, 2001, p. 49)

           การเขียนบรรณานุกรม       McLennan, G. (2001). Maintaining Marx. In G. Ritzer and B.Smart
                                                   (Eds.). Handbook of Social Theory. (pp. 43-53). Sage.

  1. การอ้างถึงในรายงานการประชุมวิชาการ

            อ้างอิงในเนื้อหา              (ฉันทนา บรรณ และศิริโชติ หวันแก้ว, 2535, น. 75)

            การเขียนบรรณานุกรม     ชนาภรณ์ กลิ่นหอม และศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2564). รูปแบบการดำเนิน
                                                  ชีวิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
                                                  ระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ ของผู้ บริโภคที่มีความหลากหลายทางเพศ (
LGBT) ใน
                                                  เขตกรุงเทพมหานคร
. ใน การประชุม วิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการ
                                                  ระดับชาติ ครั้งที่ 5 (น. 502-516). The 5th UTCC
                                                   National Conference. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

            อ้างอิงในเนื้อหา              (Katz, I., Gabayan, K., & Aghajan, H., 2007)

            การเขียนบรรณานุกรม      Katz, I., Gabayan, K., & Aghajan, H. (2007). A multi-touch surface
                                                   using multiple cameras. In J. Blanc-Talon, W. Philips, D. Popescu,
                                                   & P.Scheunders (Eds.), Lecture notes in computer science: Vol.
                                                   4678. Advanced concepts for intelligent vision systems
(pp. 97-108).
                                                   Springer-Verlag.                                                           
                                                   https://doi.org/10.1007/978-3-540-74607-2_9

4. การอ้างถึงใน วิทยานิพนธ์

           อ้างอิงในเนื้อหา               (วนัชณิช เจตนเสน และพิชัย ภู่สัมพันธ์, 2550, น. 59)

           การเขียนบรรณานุกรม      วนัชณิช เจตนเสน และพิชัย ภู่สัมพันธ์. (2565). อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้า
                                                   และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคร้าน
                                                   อาหาร
Jones' Salad [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. 
                                                   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

           อ้างอิงในเนื้อหา                (Harris, 2014)

          การเขียนบรรณานุกรม        Harris, L. (2014). Instructional leadership perceptions and practices of
                                                   elementary school leaders
[Unpublished doctoral dissertation].
                                                   University of  Virginia.

5.การอ้างถึงในวารสาร

            อ้างอิงในเนื้อหา              (ปรีดี ปลื้มสาราญ, 2545, น. 95-106)

            การเขียนบรรณานุกรม     ปรีดี ปลื้มสาราญ. (2554). ความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บ. วารสารบรรณ
                                                   ศาสตร์  มศว
, 4(2), 95-106.

            อ้างอิงในเนื้อหา              (Singh & Anjali, 2022)

            การเขียนบรรณานุกรม      Singh, M. K., & Anjali. (2022). Mathematical Modeling and Analysis of
                                                   Seqiahr Model: Impact of Quarantine and Isolation on COVID-19.
                                                   Applications and Applied Mathematics: An International Journal, 17(1), 
                                                   146– 171.

6.การอ้างถึงใน ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

            อ้างอิงในเนื้อหา               (พิเชษฐ์ พลพิชิต และ ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ, 2560, น. 63-77)

            การเขียนบรรณานุกรม       พิเชษฐ์ พลพิชิต, และ ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2560). วัฒนธรรมสารสนเทศ
                                                    สุขภาพในชุมชนชนบทไทย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 63-77.                                                                        http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9957/8448

            อ้างอิงในเนื้อหา               (Pereira et al., 2022)

            การเขียนบรรณานุกรม       Pereira, J., Varajão, J., & Takagi, N. (2022). Evaluation of Information
                                                    Systems Project Success–Insights from Practitioners. Information
                                                    Systems Management
, 39(2), 138–155.                   
                                                    https://doi.org/10.1080/10580530.2021.1887982

บทความวิจัย/ Research_Article

ส่วนประกอบของบทความวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่)

2. ชื่อผู้เขียน
    - ใส่ชื่อและนามสกุลใต้ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    - ใส่ footnote ข้อมูลหน่วยงานของผู้เขียนทุกท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (คณะ, มหาวิทยาลัย, E-mail Address) ท้ายหน้าแรกของบทความนั้น
    - ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เรียงลำดับโดยใส่ชื่อผู้เขียนบทความหลักเป็นชื่อแรก โดยระบุคำว่า “ผู้เขียนหลัก” ในภาษาไทย และคำว่า “Corresponding Author” ในภาษาอังกฤษ และชื่อผู้เขียนท่านอื่นให้เรียงลำดับตามการทำงานวิจัยจากมากไปน้อย

3. บทคัดย่อ (กระชับ ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของบทความ)
     - ทุกบทความต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์บทความเป็นภาษาต่างประเทศจะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย
     - คำสำคัญ ให้พิมพ์ต่อจากบทคัดย่อ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ 3-5 คำ

4. Abstract (จะต้อสอดคล้องกับบทคัดย่อ)
    - Keywords สอดคล้องกับคำสำคัญ จำนวน 3-5 คำ 

5. บทนำ (ใส่อ้างอิงอย่างครบถ้วน)

6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ใส่อ้างอิงอย่างครบถ้วน)

7. ทบทวนวรรณกรรม (ใส่อ้างอิงอย่างครบถ้วน)

8. วิธีดำเนินการวิจัย

9. ผลการวิจัย

10. สรุปและอภิปรายผล

11. ข้อเสนอแนะ (ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการวิจัย และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป)

12. กิตติกรรมประกาศ (ในกรณีได้รับทนุวิจัย)

13. เอกสารอ้างอิง
      - ตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งอ้างอิง
      - ใส่เอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วนตามที่อ้างอิงในบทความ 
      - ใส่เอกสารอ้างอิงเฉพาะที่มีการอ้างอิงในบทความเท่านั้น
      - ข้อมูลของบทความจะต้องใส่เว็บไซต์ของบทความนั้นต่อท้ายการอ้างอิงด้วย
      - การเขียนอ้างอิงให้ยึดตามรูปแบบการอ้างอิงของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ

บทความวิชาการ/ Academic_Article

ส่วนประกอบของบทความวิชาการ ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่)

2. ชื่อผู้เขียน
     - ใส่ชื่อและนามสกุลใต้ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
     - ใส่ footnote ข้อมูลหน่วยงานของผู้เขียนทุกท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (คณะ, มหาวิทยาลัย, E-mail Address) ท้ายหน้าแรกของบทความนั้น
     - ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เรียงลำดับโดยใส่ชื่อผู้เขียนบทความหลักเป็นชื่อแรก โดยระบุคำว่า “ผู้เขียนหลัก” ในภาษาไทย และคำว่า “Corresponding Author” ในภาษาอังกฤษ และชื่อผู้เขียนท่านอื่นให้เรียงลำดับตามการทำงานวิจัยจากมากไปน้อย บทคัดย่อ 
     - คำสำคัญ คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ 3-5 คำ

3. Abstract (จะต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อ)
     - Keywords สอดคล้องกับคำสำคัญ จำนวน 3-5 คำ

4. บทนำ

5. เนื้อเรื่อง

6. บทสรุป

7. ข้อเสนอแนะ

8. เอกสารอ้างอิง

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อ ที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้น และจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนเพื่อวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมอื่น ๆ หรือเปิดเผยให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ