ความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (2) เปรียบเทียบปัจจัยความสุขในการทำงานของบุคลากร สกสว. จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของบุคลากร สกสว. การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากร สกสว. จำนวน 152 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสุขในการทำงานของบุคลากร สกสว. อยู่ในระดับสูง (2) บุคลากร สกสว. ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีความสุขในการทำงาน แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และอายุงาน ที่ต่างกันมีความสุขในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากร สกสว. อยู่ในระดับสูง ในทิศทางเดียวกันและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.563 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2565). "วันความสุขสากล" แล้ว "ความสุข" ของ "คนไทย" อยู่ตรงไหน?. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/994508
ชัชชัย กสิวาณิชยกุล. (2557). เสริมสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัชฎาภรณ์ ฝูงชมเชย. (2559). บรรยากาศในองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดปทุมธานี (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ทรรศวรรณ ขาวพราย. (2560). ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครสวรรค์ (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ณภัทร พรศิลปะกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฏยา ผลบุญ. (2559). อิทธิพลของบรรยากาศองค์การและการปรับตัวในการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐชยา ศรีจันทร์. (2560). ความสุขในการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท เอพี ออโต้ มาสเตอร์ จำกัด (สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช. (2560). การศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยรามคำแหง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2565). ไทยได้อันดับ 61 จาก World Happiness Report 2022 ฟินแลนด์ครองที่หนึ่งประเทศที่มีความสุขที่สุด 5 ปีซ้อน. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565, จาก https://www.sdgmove.com/2022/03/21/world-happiness-report-2022/
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2564). ความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก https://www.tsri.or.th/th/about/1/ความเป็นมา
สุรสวดี อ่อนอำไพ. (2558). ความสุขในการทำงานของพนักงานกองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Diener, E., Christie, N, S. and Richard, E. L. (2003). The evolving concept of subjective wellbeing: the multifaceted nature of happiness. Psychological Department, 39(1), 67-100.
Gavin, J.H. and Mason, R.O. (2004). The Virtuous Organization : The Value of Happiness in the Workplace. Organization Dynamics, 33(1), 379-392.
Stringer, R. (2002). Leadership and Organization Climate. New Jersey: Person Education, Inc.