ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านช่องทางการรับรู้ข้อมูลกับระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 419 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูง (2) ข้าราชการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน เงินเดือน และประเภทตำแหน่ง แตกต่างกันมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน (3) ช่องทางการรับรู้ข้อมูล มีความสัมพันธ์ต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของข้าราชการในระดับน้อย ในทิศทางเดียวกันและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.184 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก วงศ์สวัสดิ์. (2563). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). เปิดสถิติใช้ "ดิจิทัล" ทั่วโลก "ไทย". สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/tech/988061
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.thaitrade.com/online-exhibition/plan
จรัญญา วงศ์ดอนขมิ้น. (2556). กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจบริการส่งออก(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฑา ญาณทัสนะสกุล. (2559). ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (สารนิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาพรภัฏ ธนาคุณ. (2562). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ความเข้าใจในเศรษฐกิจยุค 4.0 และกระบวนการทำงานในองค์กร ที่มีผลต่อคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ต่อการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นาตยา ประสานสงฆ์. (2559). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานเก็บขนมูลฝอย สำนักงานเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิรินทร์ วิทยาเกียรติเลิศ. (2560). ความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้…จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
พิสมัย ใจหาญ. (2543). ความรู้ความเข้าใจในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539: ศึกษาเฉพาะสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพราพนิต พรเจิมสกุล. (2558). ความรู้ ความเข้าใจ และความของนักบัญชีไทยต่อการเปิดประชาคม เศรษฐกิจเซียน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภิรมนวล ภักดีศรีศักดา. (2555). ความรู้ความเข้าใจ แรงจูงใจและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ของผู้ขับขี่รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ท๊อป.
วิชิต แซ่อึ้ง. (2563). ความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้พุทธศักราช 2558 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภาวิตา อุกฤษ. (2564). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรของนักบัญชีในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารดา เฟื่องทอง. (2556). บริการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผ่านพาณิชย์ดิจิตอล Thaitrade.com. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2554. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th/
Bloom, B.S. (1965). Taxonomy of Education Objective Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mackey Company Inc.
eMarketer.(2021).Global e-Commerce Forecast 2021. Retrieved March 16, 2022, from https://www.emarketer.com/content/global-ecommerce-forecast-2021
Hospers, J. (1967). An Introduction to Philosophical Analysis. London: Printing Hall.
Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The knowledge creating company: how Japanese companies create the dynamics of innovation. New York: Oxford University Press
Thorndike, E.L. (1968). Human Learning. New York: Century.
Yamazaki, H. (1999). Measurement Analysis Knowledge Management. Tokyo: The Yama Group.