การใช้เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)
คำสำคัญ:
เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบ, การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2567 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบ 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลาสัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 8 คาบ คาบละ 50 นาที สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากได้รับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบสามารถพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลการทดสอบก่อนเรียน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 3.37 และผลการทดสอบหลังเรียน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 3.95 จากการวัดการทดสอบด้วยค่า t (t-test dependent) เท่ากับ 10.49
References
คชาภรณ์ คลังชำนาญ. (2547). ผลของการสอนคิดโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบด้วยวิธีสอนต่างกันที่มีต่อการคิดวิจารณญาณของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
สุพรรณิการ์ สุทธหลวง. (2551). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้หมวกคิด 6 ใบเพื่อส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์และบรรยากาศชั้นเรียนของนักเรียนระดับก้าวหน้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
โสรัตน์ อับดุลสตา. (2555). การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการอัล-ฮิกฺมะฮฺ, 2(3), 85–97.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถามหมวกความคิดหกใบ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ยุวดี สมศรี. (2551). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
ฤชุอร ฟองตา. (2552). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
มยุรา เมืองฮาม. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการสืบสอบร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].
Bock, S. (1993). Developing materials for the study of literature. English Teaching, 31(63), 2-4.
Can, A. H., & Semerci, N. (2007). The effect of the six thinking hats technique on students’ academic achievement in social studies at primary school. Education and Science Journal, 32(145), 39-52.
Dallman, M. (1978). The teaching of reading. (5th ed.). Holt, Rinehart and Winston.
De Bono, E. (1990). Six thinking hats. Penguin Books.
De Bono, E. (1992). Six thinking hats for school. Haeler Brownlow Education.
Dhanapal, S., & Wern Ling, N. (2013). A study to investigate how six thinking hats enhance the learning of environmental studies. IOSR Journal of Research & Method in Education, 1(6), 20–29.
Khataybeh, M., & Tarawneh, N. (2015). The effect of using the six thinking hats method on the development of EFL female eleventh grade students’ writing skill in Southern Al-Mazar Directorate of Education. International Journal of Arts and Humanities, 1(4), 24–37.
McAleer, F. F. (2006). A thinking strategy for tomorrow’s gifted leaders: Six thinking hats. Gifted Education Press Quarterly, 21(20), 10-12.
Rajabi, P., & Tabatabaee, M. S. (2015). The impact of teaching critical reading strategies on the development of critical reading ability of Iranian EFL learners. Journal of Applied Linguistics (Dubai), 1(1), 75-90.
Salisbury University. (2014). 7 critical reading strategies. http://www.salisbury.edu/counseling/new/7_critical_reading_strategies.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.