การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • เจ๊ะมีน๊ะ รองเดช โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง, การจัดการเรียนรู้เสริมประสบการณ์, ทักษะการแก้ปัญหา, ทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง มีกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนห้วยยอด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน เป็นนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้น (Stimulation) 2) ขั้นเรียนรู้และปฏิบัติตามคำชี้แนะ (Action and Coaching) 3) ขั้นระดมความคิด (Brainstorm) 4) ขั้นเชื่อมโยงความรู้สู่ชีวิตจริง (Connections to real life) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) 6) ขั้นสะท้อนคิด (Reflection) ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10  2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กันตาภา สุทธิอาจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].

จตุพร ผ่องลุนหิต. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)

ณัฐณิชา จันทราสา. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการระดมสมองและกระบวนการสร้างฉากทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงอนาคตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].

ณัฐรดา ธรรมเวช. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(11), 324-339.

ทรัพสิริ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, สรัฐ ฤทธิ์รณศักดิ์, ณิศรา ระวียัน และวาสนา จักร์แก้ว. (2564). การจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์ตามสภาพจริงตามรูปแบบกิจกรรมประสบการณ์. วารสารธรรมศาสตร์, 40(2), 116-129.

ธันยากร ตุดเกื้อ. (2565). ผลของโปรแกรมการระดมพลังสมองรูปแบบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์โควิด-19. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 6(4), 95-103.

นันทวัน ภู่ผิว และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 78-89

บุญเสริฐ จันทร์ทิน. (2564). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. https://anyflip.com/jvhbw/akef

ภัทราภรณ์ อินทยุง, จักรกฤษณ์ สมพงษ์ และอังคณา อ่อนธานี. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 230 - 244.

วริศรา คุ้มถิ่นแก้ว และขนิษฐา แน่นอุดร. (2566). ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการสอนระดมพลังสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 5(2), 57-69.

ศรายุทธ พูลสุข. (2560) ผลของการจัดการเรียนรู้การแก้ปัญหาตามสภาพจริง เรื่อง ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี . [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

ศิริโสภา แสนบุญเวช. (2562). การพัฒนาการสอนโดยการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].

อนุชิต ชุลีกราน, (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวนักคิดสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบระดมสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

รองเดช เ. . (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD), 1(1), 1–17. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/article/view/379