การขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
การขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืน, ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืนของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืนของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืนของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง ที่มีประสิทธิผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขะ จำนวน 401 คน 129 หลังคาเรือน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 56 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) ได้แก่ ปลัดอำเภอ, กรรมการโครงการไทยนิยมยั่งยืน, ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขะ และกรรมการบริหารชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง และประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านทุ ่งกระโปรง ใช้วิธีการคัดเลือกโดยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืนของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง 1. ด้านความสามารถในการปรับตัว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.04) 2. ด้านความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08) และ 3. ด้านความสามารถในการบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืนของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง 1. ด้านการวางแผนอยู่ในระดับมาก ( = 4.13) 2. ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.11) 3. ด้านทรัพยากร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.29) และ 4. ด้านความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์