นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศอาเซียน

Main Article Content

วรภูริ มูลสิน
ประชัน คะเนวัน
ธนพัฒน์ จงมีสุข

บทคัดย่อ

ประเทศที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุด อันดับหนึ่งจีน 166.37 ล้านคน อันดับสอง ประเทศอินเดีย 84.9 ล้านคน อันดับสาม ประเทศสหรัฐอเมริกา 52.76 ล้านคน สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2567 ประเทศสิงคโปร์มีผู้สูงวัยคิดเป็น (17.3 %) มีผู้สูงวัยจำนวน 1.08 ล้านคน ของประชากรทั้งหมด 6.3 ล้านคน ประเทศไทยข้อมูลผู้สูงวัยมี (20 %) หรือประมาณ 13.2 ล้านคน ของประชากรทั้งหมด ขณะที เวียดนามมีผู้สูงวัยจำนวน 21 ล้านคน) (20.0 %) ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดิม (11.9 %) และคาดประมาณว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า คือ ปี พ.ศ. 2583 ทั้งสามประเทศก็จะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) นโยบายด้านสังคม ควรจะมีการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเน้นบทบาทของรัฐ เป็นสวัสดิการพื้นฐาน เน้นความทั่วถึงและเป็นธรรม โดยการเน้นบทบาทของท้องถิ่น องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร


นโยบายด้านเศรษฐกิจ จากมติคณะรัฐมนตรีของไทย ได้มีนโยบาย ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้แก่การขยายอายุการทำงานช่วยเพิ่มรายได้ นโยบายเพิ่มทักษะของทำงานให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำและผลกระทบทางเศรษฐกิจ สำหรับสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเอง (self-reliance) รัฐบาลเวียดนามได้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาวเวียดนามได้กระตุ้นให้มีการเก็บเงินไว้ใช้เมื่อเกษียณ สำหรับแรงงานที่เป็นวัยรุ่น เพื่ออนาคตจะได้มีเงินใช้ดำรงชีวิตบั้นปลายของชีวิต รัฐบาลมาเลเซียได้เน้นนโยบายการให้คนมาเลเซียได้มีบ้านอาศัยอยู่อย่างมีคุณภาพ รวมถึงกระตุ้นภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างให้กับผู้สูงอายุในราคาถูกแต่มีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ