ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตครัวเรือนชนบทกับนโยบายเงินดิจิทัล ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตครัวเรือนชนบทกับนโยบายเงินดิจิทัล ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษโดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้เแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน380โดยวิธีการด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการ จับสลาก ที่ระดับความเชื่อ95%และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่รับได้0.05สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยค่าร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Correlation Coefficient ทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยสถิติ Regression analysis
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ (= 4.10) อยู่ในระดับมาก ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ( = 4.04) อยู่ในระดับมาก ด้านการเข้าถึงนโยบาย ( = 3.92) อยู่ในระดับมาก ด้านความต้องการขั้นพื้นฐาน ( = 3.88) อยู่ในระดับมาก ด้านการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ( = 3.82) อยู่ในระดับมาก ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ( = 3.82) อยู่ในระดับมาก ด้านการอุปโภคบริโภค ( = 3.77)อยู่ในระดับมาก ด้านการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในชุมชน ( = 3.73) อยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( = 3.72) อยู่ในระดับมาก ด้านที่อยู่อาศัย ( = 3.50) อยู่ในระดับมาก เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหูคุณเพื่อทำนายอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 6ด้านพบว่า ด้านการอุปโภคบริโภค ( = .803) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( = .455) ด้านด้านความต้องการขั้นพื้นฐาน ( = .366) ด้านที่อยู่อาศัย ( = -.098) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ( = -.116) ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ( = -.146) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.5
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า ประชาชนในพื้นที่ยังประสบปัญหาด้านรายได้ภาครัฐจึงควรเพิ่มวงเงินค่าใช้จ่ายและสิทธิ์ในด้านต่างๆของนโยบายเงินดิจิทัล รวมทั้งการการพัฒนาแอปพลิเคชันในการใช้งาน รวมทั้งปรับปรุงการลงทะเบียน และการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงคุณสมบัติการใช้สิทธิ์ และภาครัฐควรกำหนดเงื่อนไง ให้มีความชัดเจน