การยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

รัญธิดา สุธาคง
ภิญญาพัชญ์ บุทธิจักร
ลัคณา วงค์แสง
วนิดา พวงมะลิ
อลงกต แผนสนิท
ปรารถนา มะลิไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับและการเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้สูตรของผู้วิจัยใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของ Yamane (1937) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Correlation Coefficient และทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis


ผลการวิจัยพบว่า


1.ระดับปัจจัยในการยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยาวพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก((𝑥̅ =4.66,S.D.=.407) เมื่อพิจารณาเป็นการรายงาน พบว่า ด้านการสร้างความเข้มเเข็ง ด้านบริหารจัดการทรัพยากรและด้านยกระดับมาตรฐานสินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการเพิ่มความสามารถอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ


2.ข้อเสนอแนะของการยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยาวพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ควรมีการยกระดับยางพาราที่สูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืนในการเลี้ยงชีพได้


          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยังขาดความรู้ความสามารถ ในการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้กับเกษตรกร และมีราคาขายที่ไม่เป็นธรรม หน่วยงานภาครัฐควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรรวมทั้ง สนับสนุนเครื่องมือเทคโนโลยีที่ช่วยในการแปรรูปเพื่อยกระดับสินค้าให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

Article Details

How to Cite
สุธาคง ร., บุทธิจักร ภ. ., วงค์แสง ล., พวงมะลิ ว., แผนสนิท อ. ., & มะลิไทย ป. . (2025). การยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 3(1), 89–104. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/965
บท
บทความวิจัย