กิจกรรมสะเต็มในบริบทเชิงสังคมและวัฒนธรรม: การพัฒนากระถางจากลำต้นเทียม ของกล้วยสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สถาพร เรืองรุ่ง
พัทรศยา โอตาคาร
ปลาดาว สีชมพู
ประภาพร ใจเอื้อ
พิศมัย แก้วเชื้อ

บทคัดย่อ

นักเรียนเป็นผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญในอนาคตที่จะช่วยในการรักษาและอนุรักษณ์ทรัพยากรของโลกและชุมชนไว้อย่างยั่งยืน ดังนั้นโรงเรียนบ้านกุ่มจึงมีแนวคิดจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิด BCG Model และการดำเนินกิจกรรมในโครงการ Zero Waste School เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติในชุมชนเพื่อลดปัญหาจากขยะและของเหลือใช้ในชุมชน นอกจากนี้การพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนระหว่างลำต้นเทียมของกล้วย และวัสดุประสานที่เหมาะสมในการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์สำเร็จรูป ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพบางประการของกระถางจากลำต้นเทียมของกล้วย และศึกษาความพึงพอใจต่อกระถางจากลำต้นเทียมของกล้วย ผลการศึกษาอัตราส่วนระหว่างลำต้นเทียมของกล้วย และวัสดุประสานที่เหมาะสมในการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์สำเร็จรูป สามารถขึ้นรูปได้ทั้ง 5 ชุดการทดลอง ผลการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพบางประการ ได้แก่ ความแข็งแรง พบว่า ชุดการทดลองทั้งหมดปกติดี การดูดซับน้ำและการพองตัว พบว่า ชุดการทดลองที่ 4 มีค่าการดูดซับน้ำที่สูงกว่าอัตราส่วนอื่น ๆ และการดูดซับความร้อน พบว่า ชุดการทดลองที่ 1 มีค่าการดูดซับความร้อนที่สูงกว่าอัตราส่วนอื่น ๆ และชุดการทดลองที่เหมาะสมมากที่สุด คือ ชุดการทดลองที่ 4 ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพทั้งความแข็งแรง การดูดซับน้ำ การพองตัว และการดูดซับความร้อน ดีกว่าชุดทดลองอื่น ๆ อีกทั้งเป็นชุดการทดลองที่มีปริมาณตัวประสานน้อย และผลการศึกษาความพึงพอใจต่อกระถางจากลำต้นเทียมของกล้วย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการศึกษาข้างต้นสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนในการจัดการปัญหาขยะจากพืชผลทางการเกษตร และความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจมาวางจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์ชุมชนกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กัญจนาภรณ์ เจริญผล, และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์. (2564). การสร้างและหาประสิทธิภาพถาดปลูกพืชจากมูลช้าง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(2), 52-64.

จรีรัตน์ รวมเจริญ, กำธร เกิดทิพย์, และไพรัตน์ จีรเสถียร. (2564). สะเต็มศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากกาบกล้วยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 187-206.

จุฑามาศ แก้วมณี. (2564). การผลิตกระถางต้นไม้ย่อยสลายได้จากกากตะกอนโรงงานยางพาราร่วมกับวัสดุเหลือทิ้งจากก้อนเชื้อเห็ดและทะลายปาล์ม. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports, 24(1), 84-93.

ชาตรี ฝ่ายคําตา, ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล, สหรัฐ ยกย่อง, พงศธร ปัญญานุกิจ, ธาฤชร ประสพลาภ, กนกเทพ เมืองสง, จันทิมา นิลอุบล และณมน น่วมเจริญ. (2565). แนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 13(2), 344-362.

เบญจมาศ ศิลาย้อย. (ม.ป.ป.). กล้วย: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. ม.ป.ท..

มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาพร เรืองรุ่ง, นพรัตน์ เชื้อคำฮด, ชนากานต์ คูณแก้ว, ขวัญหทัย นาจารย์, และสุมาลิน ฝางคำ. (2566). การศึกษาอัตราส่วนระหว่างวัสดุทดแทน และวัสดุประสานที่เหมาะสมในการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์สำเร็จรูป และคุณสมบัติทางกายภาพบางประการของกระถางจากวัสดุทดแทน. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 42(2), 94-108.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2564). BCG Economy Model. https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/what-is-bcg-economy-model/

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค .(2565). ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565. https://www.mof.go.th/th/view/attachment/file/.pdf

สุทธิดา จำรัส. (2562). การออกแบบและพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(2), 1150-1170.