กลวิธีการใช้ภาษาในบทกวีนิพนธ์ “เรไร ไลลา” ของ ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

Main Article Content

ปพิชญา พรหมกันธา
พัทธนันท์ พาป้อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาด้านการใช้คำ และการใช้ภาพพจน์ในวรรณกรรมร้อยกรอง “เรไร ไลลา” ของ ศักดิ์สิริ มีสมสืบ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาพิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการใช้คำที่ปรากฏใน “เรไร ไลลา” ของ ศักดิ์สิริ มีสมสืบ โดยใช้เกณฑ์ของชำนาญ รอดเหตุภัย พบการใช้คำ 12 ประเภท พบมากที่สุดคือ คำภาษาต่างประเทศ รองลงมาคือ คำมีศักดิ์ คำภาษาตลาด คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำนามธรรม คำที่มีความหมายโดยนัย คำรูปธรรม คำภาษาถิ่น คำแสดงอารมณ์คำหยาบ ศัพท์บัญญัติ และคำเลียนเสียงพูด ตามลำดับ ด้านการใช้ภาพพจน์ที่ปรากฏใน
“เรไร ไลลา” ของ ศักดิ์สิริ มีสมสืบ โดยใช้เกณฑ์ของประพนธ์ เรือนณรงค์ พบการใช้ภาพพจน์ 7 ประเภท ดังนี้ พบมากที่สุดคือ สัทพจน์หรือการเลียนเสียงธรรมชาติ รองลงมาคือ อติพจน์ หรืออธิพจน์ อุปมา บุคคลวัตหรือบุคลาธิษฐาน ปริทรรศน์หรือปฏิภาคพจน์ ปฏิปุจฉาหรือคำถาม
เชิงวรรณศิลป์ และสัญลักษณ์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปราบปัญจะ. (2553). การศึกษาการใช้ภาษา และกลวิธีในการเขียน ของ ว.วชิรเมธี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชมัยภร บางคมบาง และคณะ (บรรณาธิการ). (2562). อ่านสร้างสุข 26: 1,009 เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์ เล่มที่ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ชาตบุษย์ นฤดม. (2550). โวหารภาพพจน์ในวรรณกรรมซีไรต์ที่สื่อสะท้อนสภาพการเมืองไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยวัฒน์ ไชยสุข. (2558). กลวิธีการใช้ภาษาและภาพสะท้อนในวรรณกรรมบันเทิงคดีของมงกุฎ อรดี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2545). ภูมิปัญญาทางภาษา. ไทยวัฒนาพานิช.

ปรีดาพร คุ้มสระพรม. (2555). การใช้ภาษาวรรณศิลป์และเนื้อหาในบทกวีนิพนธ์ แนวเพื่อชีวิตของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์

ศักดิ์สิริ มีสมสืบ. (2556). เรไร ไลลา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปะ-กัน-นะ.

สำนักพิมพ์สมมติ. (2563). ศักดิ์สิริ มีสมสืบ (Saksiri Meesomsueb). สำนักพิมพ์สมมติ. https://www.sm-thaipublishing.com

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). คู่มือการจัดกิจกรรมหนังสืออ่านนอกเวลา. สกสค. ลาดพร้าว.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2558). วรรณกรรมวิจารณ์. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.