สลายสิ้นซึ่งความหวังรังรอง: ตัวอย่างภาพสะท้อนการล่มสลายของสถาบันครอบครัวในวรรณกรรมไทย

Main Article Content

พัทธนันท์ พาป้อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสถาบันครอบครัวที่ปรากฏในสลายสิ้นซึ่งความหวังรังรอง ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพตามกรอบแนวคิดภาพสะท้อนสถาบันครอบครับ 2 ด้านคือ ด้านลักษณะของครอบครัว และด้านปัญหาครอบครัว โดยวิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมและนําเสนอผลการศึกษาเป็นแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า
1) ภาพสะท้อนสถาบันครอบครัว ด้านลักษณะของครอบครัว ในวรรณกรรมนำเสนอครอบครัว
4 ลักษณะ ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวผสม ครอบครัวที่ให้อำนาจผู้ชายหรือสามีเป็นผู้นำครอบครัว และครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และ
2) ภาพสะท้อนสถาบันครอบครัว ด้านปัญหาครอบครัว ในวรรณกรรมนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว 11 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาการใช้ความรุนแรง ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาการนอกใจของคู่สมรส ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ปัญหาทางเศรษฐกิจ
นำไปสู่ปัญหาการว่างงานหรือตกงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาพฤติกรรมที่ขาดสติเนื่องมาจากการเมาสุรา ปัญหาเด็กวัยรุ่น ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาการการขาดเสาหลักในครอบครัวเนื่องจากการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของคนในครอบครัว

Article Details

How to Cite
พาป้อ พ. (2024). สลายสิ้นซึ่งความหวังรังรอง: ตัวอย่างภาพสะท้อนการล่มสลายของสถาบันครอบครัวในวรรณกรรมไทย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS), 1(1), 89–108. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/313
บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, เสาวคนธ์ สุดสวาสดิ์, เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล, ประพีร์ วิริยะสมบูรณ์, สุดา ภิรมย์แก้ว และ

สุรพันธ์ เพชราภา. (2552). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 14). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตินกานต์. (2563). สลายสิ้นซึ่งความหวังรังรอง. สำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2540). ตัวอย่างการเขียนเรื่องบันเทิงคดีและสารคดีสำหรับเด็กและเยาวชน. ธารอักษร.

นวลอนงค์ สุวรรณเรือง. (2544). สถาบันครอบครัวในนวนิยายของ ชมัยพร แสงกระจ่าง, น. แนวคิดและวิธีนำเสนอแนวคิด [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภาวิณี พนมวัน ณ อยุธยา. (2564). ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องสั้นหนังสือวันเด็กแห่งชาติ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26), 77-89.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย. (2553). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. http://www.ssdc.msociety.go.th/themes/social/images/downloads.

สุพร อภินันทเวช. (2550). แนวคิดและกรณีศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพจิต ในการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ. ศุภพลอินเตอร์พริ้นท์.

สุพิศ เอื้องแซะ. (2560). ภาพสะท้อนสังคมและกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้นในนิตยสาร คู่สร้างคู่สม [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร. (2541). ความขัดแย้งทางค่านิยมที่ปรากฏในเรื่องสั้นไทยสมัยพัฒนาเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2493 – 2523). วารสารภาษาและหนังสือ, 29(1), 125 – 148.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2562). นิยามและประเภทของครอบครัว. https://infocenter.nationalhealth.or.th/sites/default/files/.pdf

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2551). เลื่อมลายสายรุ้ง, น. ภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Mo Lingfen. (2560). ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย, น. ภาพสะท้อนจากนวนิยายไทย ช่วงพ.ศ. 2508-2557. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 12(23), 1-12.