การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์และ การพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ 3) เปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่เรียนในรายวิชาการศึกษาและการพัฒนาชุมชน ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ มี 4 องค์ประกอบ 2) รูปแบบ
การเรียนการสอนเชิงผลิตภาพมีองค์ประกอบและประกอบด้วยกระบวนการเรียน 4 ขั้นตอน 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ของนักศึกษากลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนด้านพุทธิพิสัยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คะแนนด้านทักษะพิสัยผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุม และด้านความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤษณี กงศ์สวัสดิ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือการสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านเว็บตามแนวทฤษฎีการขยายความคิดเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชรีย์พร ภูมา. (2553). การพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิ่งโดยใช้แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติและการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชาวรินทร์ สีใหม่. (2550). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อมโนทัศน์ทางธรณีวิทยาและความสามารถในการสร้างแบบจำลองขอ'นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 20(พิเศษ 2), 185-198.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทนันยา คำคุ้ม, และฐาปนี สีเฉลียว. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสารพัฒนาการเรียนการสอน. 13(2), 71-86.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาฯ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). โรงเรียนผลิตภาพ: สัตทัศน์เพื่อการจัดการ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 : ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดา ศิลาน้อย. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 30(1), 73-78.
ลิขิต เกิดมงคล. (2558). การพัฒนาเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสร้างสื่อการสอน Augmented Reality [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิริศุกร์ ศิริโชคชัยตระกูล. (2558). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (CRP) รายวิชา ส14101 สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 131-140.
สมประสงค์ เสนารัตน์. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). อภิชาติการพิมพ์.
สมพร โกมารทัต. (2557). การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ=Productivity-based learning. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 25(3), 1-11.
สรวงพร กุศลส่ง. 2560. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิด สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 114-130.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2548). Thailand stand-up. Brand Age books.