การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานสอนใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

จุฑารัตน์ ศรีสว่าง
พัทธนันท์ พาป้อ
ปพิชญา พรหมกันธา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ที่สอนโดยใช้นิทานสอนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้นิทานสอนใจ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก จำนวน 13 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สถิติ Nonparametric การทดสอบค่า Wilcoxon Signed Rank test for Matched Paired Difference ในการวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานสอนใจ พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 2) ผลการวิเคราะห์ระดับพัฒนาการด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้นิทานสอนใจจากการเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (16.75) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน (9.53) เท่ากับ 7.17 คิดเป็นร้อยละ 63.15 เมื่อนำมาคำนวณหาค่าพัฒนาการสัมพัทธ์พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 69.34 แสดงว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้นิทานสอนใจมีพัฒนาการด้านการอ่านคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับ สูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จิราพร ปั้นทอง. (2550). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทาน ประกอบการเชิดหุ่นมือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐิติชญา บรรเรียนกิจ. (2562). การใช้หนังสือนิทานอีสปเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธฺปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรสวรรค์ จันทร์เล็ก, ยุพิน จันทร์เรือง และปฏิพันธ์ อุทยานุกูล. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญ ราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. พิฆเนศวร์สาร, 16(1), 81-95.

เพ็ญศรี จันทร์ดวง. (2545). แผนการเรียนหนังสือเสริมทักษะจุดพัฒนาทักษะกระบวนการภาษาไทยซีรีย์ 7. โรงพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วาศิณี กิ่งนอก, ปพิชญา พรหมกันธา, พัทธนันท์ พาป้อ และปุ่น ชมภูพระ (2567) การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานคุณธรรมโดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ใน ปพิชญา พรหมกันธา (บ.ก.) ครุนิพนธ์สัมมนา : งานวิจัยคือหัวใจแห่งการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ นำเสนอ ผลงานระดับปริญญาตรี “ครุนิพนธ์สัมมนา ครั้งที่ 2 (น. 184-197). วิชาเอกภาษาไทย คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. 2545. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

สุพิชญา เสาเปรีย, ปพิชญา พรหมกันธา, พัทธนันท์ พาป้อ และปุ่น ชมภูพระ. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะจากนิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน บ้านหนองโพธิ์ อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. ใน ปพิชญา พรหมกันธา (บ.ก.) ครุนิพนธ์ สัมมนา : งานวิจัยคือหัวใจแห่งการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการนำเสนอ ผลงานระดับปริญญาตรี “ครุนิพนธ์สัมมนา ครั้งที่ 2 (น. 338-348). วิชาเอกภาษาไทย คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุภาพร เหล่ารอด. (2565). การพัฒนาทักษะอ่านจับใจความสำคัญ โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 STEP's ร่วมกับเทคนิค 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.