การพัฒนาการรูปแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันวัณโรคในเขตตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การระบาดของวัณโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคสู่ชุมชนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ของภาคีเครือข่าย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันวัณโรคของภาคีเครือข่าย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และ 3) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ของภาคีเครือข่าย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่
1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประชุมกลุ่มย่อย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน จำนวน 60 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับตอบแบบสอบถามและร่วมกิจกรรม จำนวน 129 คน งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แนวทางการสนทนากลุ่ม 2) แบบสังเกตการมีส่วนร่วม 3) แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช่สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการมีส่วนร่วมที่จะดำเนินการในหมู่บ้านได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 โครงการของภาคีเครือข่ายตำบลลาดใหญ่ ประเภทที่ 2 โครงการที่ตำบลลาดใหญ่ต้องร่วมดำเนินการและ/หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายในท้องถิ่น และประเภทที่ 3 โครงการที่ตำบลลาดใหญ่ไม่สามารถดำเนินการได้เองต้อง ให้หน่วยงานภายนอกช่วยดำเนินการให้ ภายหลังดำเนินกิจกรรมแล้วพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับดี มีทัศนคติระดับดี และมีการปฏิบัติในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังทำกิจกรรมพบว่าความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
World Health Organization. (2020). Global tuberculosis report 2020. World Health Organization.
Silpiaru, T. (2007). Research and analysis of statistical data with SPSS. SEEDUCATION.
กรมควบคุมโรค. (2566). YES! WE CAN END TB “ยุติวัณโรค เราทำได้”. กรมควบคุมโรค. https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.phpnews=32704&deptcode=odpc9
กองวัณโรค. (2564). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กองวัณโรค.https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1253220220330064337.pdf
ธีรพงษ์ แกว้หาวงษ์. (์2546). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง : ประชาคม ประชาสังคม ขอนแก่น. (พิมครั้งที่9). โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชมรมนักวิชาการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
รักขนา สิงห์เทพ. (2551). การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันวัณโรคของชุมชนโดยเทคนิค AIC: กรณีศึกษาบ้านโสกนาค ตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมลักษณ์ หนูจันทร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน โดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(4), 665-673.
สำเริง ซึมรัมย์ สมศักดิ์ ศรีภักดี และจิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์. (2558). การพัฒนารูปแบบการดําเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 12(1), 139-149.
องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่. (2567). แผนพัฒนาหมู่บ้าน. สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่.