การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21: ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุ 3-5 ปี ระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิจำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 จำนวน 24 แผน และแบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการกึ่งทดลองเป็นตามแบบแผนการทดลอง (The One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลรวมค่าเฉลี่ยแบบประเมินทั้ง 3 ด้าน ค่าเฉลี่ย (M) 2.74, (S.D.) 0.19 อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย (M) 3.96, (S.D.) 0.14 อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่า กิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ในด้านการหาความสัมพันธ์ การคิดให้เหตุผล และการคิดแก้ปัญหา ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถแก้ไขปัญหา รวมทั้งสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
กานต์ธิดา สินทรัพย์. (8 มีนาคม 2565). Critical Thinking คิดอย่างไรให้มีเหตุผล. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2022-02-08-13-44-37
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. เอดิสันเพรสโปรดักส์.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, (2552). การคิดวิเคราะห์ เล่ม 1. เทคนิคพริ้นติ้ง.
พนิดา ชาตยาภา. (2563). การจัดการชั้นเรียนเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 223-240.
วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์. (16 ธันวาคม 2559). การประชุมวิชาการ EF Symposium 2016 ปลูกฝังทักษะสมองบ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. www.thaihealth.or.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี: แนะแนวสำหรับผู้ดูแลเด็ก ครูและอาจารย์. แปลน ฟอร์ คิดส์.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2556). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Knowles. (1997). Self-directed Learning: A Guide for Learners and Teacher. Association Press.
Lipman, M. (1980). Philosophy for children. Institute of the Advancement of Philosophy for Children.