การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21: ด้านทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ

Main Article Content

กนกอร สังข์จันทร์
Thipaugson Puttasarin
กมลวรรณ สุคะโต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและความร่วมมือสำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุ 3-5 ปี ระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิจำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและความร่วมมือสำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 จำนวน 24 แผ่น แบบประเมินทักษะการสื่อสาร และแบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือสำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ตามแบบแผนการทดลอง (The One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย รวมผลประเมินทั้ง 3 ด้าน ก่อนทดลอง ค่าเฉลี่ย (M) 2.54, (S.D.) 0.51 แปลผลระดับน้อย และหลังทดลอง ค่าเฉลี่ย (M) 4.03, (S.D.) 0.15 แปลผลระดับมากที่สุด ผลการประเมินทักษะความร่วมมือสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า รวมผลประเมินทั้ง 3 ด้าน ก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ย (M) 2.55, (S.D.) 0.01 แปลผลระดับน้อย และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ย (M) 4.23, (S.D.) 0.26 แปลผลระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Knowles. (1997). Self-directed Learning: A Guide for Learners and Teacher. Association Press.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กนกอร ยังน้อย กนกอร ยังน้อย และประดิษฐา ภาษาประเทศ (2565). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H ของโรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 132-143.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). เมืองปกครองดีธรรมาภิบาลในการบริหารเมือง. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 1(1), 36-44.

คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2540). การเรียนรู้: ขุมทรัพย์ในตัวตน. ม.ป.ป.:

ม.ป.ส.

ดุษฎี อาษากิจ. (2553). ผลการส่งเสริมทักษะทางภาษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาสารคาม]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณสิกาญจน์ ดำริวัฒนเศรษฐ์ และคณะ (2565). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(2), 75-89.

บุญชนก ธรรมวงศา. (2566). สี่ทักษะการเรียนรู้ที่ควรมีฝึกกันได้และไม่ต้องใช้พรสวรรค์. มูลนิธิสยามกัมมาจล. https://thepotential.org/knowledge/4cs-for-21st-centurylearning/4CS

บัณฑิกา จารุมา และพยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 413-428.

พัชรี ผลโยธิน. (2560). เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์. (25 กุมภาพันธ์ 2559). การประชุมวิชาการ EF Symposium 2016 ปลูกฝังทักษะสมองบ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://.thaihealth.or.th

kids. (15 มกราคม 2565). ทักษะ 4CS สำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. 108 kids. http://www.108kids.com/article/4