ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเสื่อกกทอธรรมชาติของกลุ่มผู้ทอเสื่อกกชุมชนโนนสำราญ ตำบลโนนสำราญ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเสื่อกกทอธรรมชาติของกลุ่มผู้ทอเสื่อกกชุมชนโนนสำราญ ตำบลโนนสำราญ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยดำเนินการศึกษากับกลุ่มวิสาหกิจเสื่อกกทอชุมชนโนนสำราญที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน รวม 30 ชั่วโมง จำนวน 25 คน โดยสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยภูมิ วิเคราะห์ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ งานวิจัยได้ใช้การสังเกตการณ์การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเสื่อกกทอธรรมชาติของกลุ่มผู้ทอเสื่อกกชุมชนโนนสำราญ ตำบลโนนสำราญ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มากที่สุดคือ ด้านที่ 4 การมีคุณลักษณะความเป็นนักสู้ ช่างสังเกตและเป็นนักทดลอง คิดเป็นร้อยละ 96 รองลงมาคือ ด้านที่ 1 ความรักและแรงปรารถนา (Passion) ในอาชีพผู้ทอเสื่อกก ด้านที่ 2 การสร้างผลงานที่ให้ผลประกอบการและมีท่านค่าต่อการดำเนินชีวิตและสังคม (Pround) ด้านที่ 3 การได้เป็นผู้ส่งต่อองค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจในอาชีพผู้ทอเสื่อกก และด้านที่ 5 การสร้างรายได้ในระดับที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามที่ตนเองพอใจ คิดเป็นร้อยละ 93.6, 89.6, 86.67 และ 53 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
พิชญ์นันท์ รักษาวงศ์. (2558). การสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนจากเสื่อกก. [รายงานการวิจัย]. สำนักวิทยบริการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญลักษณ์ อ่อนทรว. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปเสื่อกกเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านหนองสิม ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(2), 97-114.
รัฐ ชมพูพาน, วรรณดี สุทธินรากร และสุวรรณา นาควิบูลย์วงศ. (2563). เส้นทางสู่ความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการรายย่อยของผู้สำเร็จทางอาชีวศึกษากลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในยุคเศรษฐกิจแบบใหม่เพี่อเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนรุ่นใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 384 – 399.
ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2556). การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. สืบค้นจาก : https://www.tci-thaijo.org. (วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2566)
ศุภพงศ์ สอนสังข์ และพีรเทพ รุ่งคุณากร. (2563).กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จในอาชีพของนักออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 249-263.
สุทธิตา สุพลสิงห์ และคณะ. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มแปรรูปเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจชุมชน บ้านทุ่งสะแบง หมู่ที่ 7 ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.