การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังโดยเครือข่ายชุมชนบ้านค่ายจิตดี ตำบล บ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง โดยใช้แนวคิด การพัฒนาโดยชุมชนเป็นฐาน (Community-based development) และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนบ้านค่ายจิตดี และศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบดังกล่าว โดยใช้วงรอบปฏิบัติการ PAOR กลุ่มตัวอย่างเป็นเครือข่ายชุมชนบ้านค่ายจิตดี จำนวน 140 คน และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 59 คน จาก 72 คน ทำการศึกษาระหว่าง ตุลาคม 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired-samples T-Test, Z-test for proportion ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษารูปแบบที่พัฒนาขึ้นยึดหลักการพัฒนาโดยชุมชนเป็นฐาน ประกอบด้วย
1) การจัดตั้งเครือข่ายชุมชน 2) การกำหนดแนวทางดูแลผู้ป่วยใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยังไม่มีเหตุ ระยะเกิดเหตุ และระยะหลังเกิดเหตุ 3) การพัฒนากลไกสำคัญ ได้แก่ ระบบคัดกรองผู้ป่วย แนวทางระงับเหตุฉุกเฉิน และการดูแลต่อเนื่องผ่าน“โรงเรียนแสงแห่งความหวัง” 4) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายโดยอบรมเชิงปฏิบัติการ ซ้อมแผนการดูแล 5) การสร้างระบบฐานข้อมูล “บ้านค่ายจิตดี” ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ชุมชนสามารถติดตามผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบ
หลังการพัฒนาพบว่าเครือข่ายชุมชนมีความรู้และระดับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 97.68 นอกจากนี้พฤติกรรมและสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
Best, J. W. (1997). Research in education (8th ed.). Prentice-Hall.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. McGraw-Hill.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Deakin University Press.
National Institute of Mental Health. (2023). Mental health and COVID-19: What we know so far. https://www.nimh.nih.gov
Overall, J. E., & Gorham, D. R. (1962). The brief psychiatric rating scale. Psychological Reports, 10(3), 799–812.
World Health Organization. (2022). World mental health report: Transforming mental health for all. https://www.who.int
World Health Organization. (2021). Mental health atlas 2020. World Health Organization.
กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดในประเทศไทย. กรมควบคุมโรค.
กรมสุขภาพจิต. (2566). การรายงานจำนวนผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย. กรมสุขภาพจิต.
กระทรวงสาธารณสุข. (2541). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวช. กระทรวงสาธารณสุข.
กำทร ดานา. (2564). การพัฒนาบทบาทการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน. วารสารสุขภาพจิตชุมชน, 29(2), 123–130.
ธัญญลักษณ์ ไชยสุข มอลเลอร์รพ, กานดา ศรีโพธิ์ชัย, และณัฏฐพร ยี่วาศรี. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเชิงรุกบูรณาการร่วมกับการให้บริการรูปแบบคลินิกหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(2), 521–531.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2565). รายงานการศึกษาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคจิตเภทในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ. โรงพยาบาลชัยภูมิ.
อภิชัย มงคล, และคณะ. (2545). การพัฒนาเครื่องมือประเมินความพึงพอใจของเครือข่าย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง, และกิตติพัฒน์ ทุติยาสาสติ์. (2562). รูปแบบการบูรณาการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยเครือข่ายชุมชน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 4(3), 131–142.