รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสู่การเป็นนักเกษตรอัจฉริยะ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ, นักศึกษา, นักเกษตรอัจฉริยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาผู้ได้รับทุนนวัตกรรมสายวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ สู่การเป็นนักเกษตรอัจฉริยะ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาทุนทุนนวัตกรรมสายวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา ผู้ประกอบการด้านเกษตร จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาเป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “PHRAE Model” โดยเป็นรูปแบบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย P : Plan ประชุมคณะอาจารย์ วางแผนการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน H : High Technology การใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมาส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร R : Relationship สานสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายแหล่งฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียน A : Area กำหนดให้นักศึกษาไปเรียนรู้ทำงานในพื้นที่ชุมชนกับสถานประกอบการ E : Evaluation ติดตามให้นักศึกษามีอาชีพให้ได้ตามสมรรถนะในแต่ละภาคเรียน และ ผลการประเมินและรับรองรูปแบบ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยชุมชนพังงา
References
กัญชพร ค้าทอง และ ประยุทธ ชูสอน. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษวิทยาเชิงพุทธม, 5(3), 446-460.
พรชัย เจดามาน และคณะ. (2560). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21.
เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2564 จาก
https://www.kroobannok.com/news_file/p81770280746.pdf.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับ
ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2562). ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตาม
แนวคิดคนไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), 345-356.
ไพฑูรย์ สินนารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). หลักการพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เลอลักษณ์ โอทกานนท์. (2561). มหาวิทยาลัย 4.0: การศึกษาเชิงผลิตภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 249-265.
วิภาลัย วงษา และคณะ. (2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 133-142.
สุวิมล มธุรส และคณะ. (2562). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์
นครลำปาง, 8(2), 266-278.
อรขวัญ คุ้มประดิษฐ์ และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา
สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย. วารสารศึกศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3), 107-119.
David A. S. (2011). How the brain learns. 4th ed. United States of America: Corwin.