จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์บทความ (Publication Ethics)
วารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา ได้กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์บทความ ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
1.1 ผู้เขียนบทความ ความต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
1.2 ผู้เขียนบทความต้องอ้างอิงผลงาน กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตนเอง เช่น รูปภาพ ตารางตาราง เป็นต้น และไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น) และจะดำเนินการถอดถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารทันที
1.3 ผู้เขียนบทความต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (กรณีได้รับ การสนับสนุนทุนวิจัย) และ/หรือ หากมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความอย่างชัดเจน
1.4 ผู้เขียนบทความ จะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่สร้างข้อมูลเท็จ หรือ ปลอมแปลงบิดเบือน รวมไปถึงตกแต่งหรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
1.5 บทความที่นำมาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
1.6 ผู้เขียนบทความควรยอมรับผลการพิจารณาประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและบรรณาธิการ
1.7 กรณีที่งานวิจัยเป็นการศึกษาและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรม จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้การอนุมัติให้ตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา ถือเป็นที่สิ้นสุด
2. บทบาทหน้าที่ ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
2.1 บรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาบทความที่จะตีพิมพ์ทุกบทความให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
2.2 บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ที่ตนรับผิดชอบ และต้องพิจารณาให้เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
2.3 บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความแก่บุคคลอื่น
2.4 บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
2.5 บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างจริงจัง หากปรากฏว่ามีความไม่ถูกต้องหรือการทุจริตเกิดขึ้นกับบทความและผ่านการตรวจสอบแล้วบรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ได้ และการเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และระบบฐานข้อมูลรับทราบด้วย
3. บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
3.1 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ เท่านั้น
3.2 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน และพิจารณาบทความโดยยึดหลักความถูกต้องตามหลักวิชาการและพิจารณาให้ ความเห็นทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว
3.3 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3.4 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องตรวจสอบคุณภาพของบทความที่จะตีพิมพ์เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพของวารสาร
3.5 หากพบว่าบทความที่รับพิจารณาเป็นบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีพร้อมแสดงหลักฐานการคัดลอกที่ชัดเจน