คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
รูปแบบการจัดทำต้นฉบับสำหรับผู้เขียน
หลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับ (รูปแบบการจัดทำต้นฉบับสำหรับผู้เขียน)
วารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงาเป็นวารสารเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการทาง สังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ประยุกต์ มนุษย์ศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา วิทยาลัยชุมชนพังงาและจากหน่วยงานภายนอก
- ประเภทของผลงาน
1.1 บทความวิจัย ความยาวไม่เกิน 20 หน้ากระดาษขนาด B5 ใช้ตัวพิมพ์ TH SarabunPSK ขนาด 16 Point และต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือใดมาก่อน
1.2 บทความวิชาการ ความยาวไม่เกิน 20 หน้ากระดาษขนาด B5 ใช้ตัวพิมพ์ TH SarabunPSK ขนาด 16 Point และต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือใดมาก่อน
- รูปแบบของการเขียนผลงาน
2.1 รูปแบบของการเขียนบทความวิจัย
เพื่อความเป็นมาตรฐานของวารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงาข้อเขียนที่เป็นบทความการวิจัยที่จะลงพิมพ์ในวารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงาควรมีลักษณะเรียบเรียงตามลำดับดังนี้
2.1.1 ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1.2 ชื่อผู้วิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1.3 ตำแหน่ง อีเมลของผู้เขียนบทความ และสถานที่ทำงานของผู้วิจัย
2.1.4 บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยให้ขึ้นต้นด้วยบทคัดย่อที่เป็นภาษาไทยและท้ายบทคัดย่อให้กำหนดคำสำคัญ (Keyword)
2.1.5 เนื้อหาจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เป็นการเขียนบทความที่ใช้งานวิจัยที่ศึกษาเป็นฐานในการเขียน ในเนื้อหาจะประกอบด้วย
1) บทนำ
2) วิธีการวิจัย
3) ผลการวิจัย
4) สรุปและอภิปรายผล (หากมีข้อเสนอแนะให้ใส่ในหัวข้อนี้)
2.1.6 เอกสารอ้างอิง (Reference)
2.1.7 กรณีบทความภาษาอังกฤษไม่ต้องมีภาษาไทย
2.2 รูปแบบของการเขียนบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงาควรมีลักษณะเรียงลำดับก่อนหลัง ดังนี้
2.2.1 ชื่อบทความ
2.2.2 ชื่อผู้เขียนบทความ ตำแหน่ง และอีเมลของผู้เขียนบทความ
2.2.3 สถานที่ทำงานของผู้เขียนบทความ
2.2.4 บทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษและคำสำคัญ
2.2.5 บทความ (บทนำ เนื้อหา และบทสรุป)
2.2.6 เอกสารอ้างอิง
- การเขียนเอกสารอ้างอิงของบทความวิจัย และบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ให้จัดเรียงตามลำดับอักษร ชื่อผู้แต่ง โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ตามตัวอย่างดังนี้
3.1 กรณีอ้างอิงจากหนังสือให้เขียนตามรูปแบบ
ชื่อ//นามสกุลผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ//(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ตัวอย่างเช่น
พวงเพชร ฤทธิพรพันธุ์ และนุชรี คงมณี. (2566). แนวทางการพัฒนาวารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา. พังงา : วิทยาลัยชุนพังงา.
3.2 กรณีอ้างอิงจากวารสารให้เขียนตามรูปแบบ
ชื่อ//นามสกุลผู้แต่ง.//(ปี, เดือนที่วารสารออก).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าของบทความ.
ตัวอย่างเช่น
พวงเพชร ฤทธิพรพันธุ์ และนุชรี คงมณี. (2566). การพัฒนาจิตอาสาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา, 1 (1), 98-106.
3.3 กรณีพิมพ์อ้างอิงอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้เขียนตามรูปแบบ
ชื่อ//นามสกุลผู้แต่ง.//(ปีที่จัดทำ).//ชื่อเรื่องของเอกสาร.//ค้นเมื่อ/เดือน/วัน,/ปี,/จาก/URL ของเว็บไซต์ที่เข้าถึง
ตัวอย่างเช่น
วิทยาลัยชุมชนพังงา. (2566). จรรณยาบรรณนักวิจัย. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 3, 2566, จาก http://www/pngcc.ac.th~research/ethies.html
- สิทธิของกองบรรณาธิการ
ในกรณีที่บรรณาธิการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่องทางกองบรรณาธิการ จะส่งต้นฉบับให้ผู้เขียนพิจารณา จัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเกณฑ์
- กองบรรณาธิการจะไม่ส่งต้นฉบับคืนให้ ไม่ว่าบทความวิจัยหรือบทความวิชาการนั้นจะได้รับ การลงพิมพ์หรือไม่
- ต้นฉบับจะต้องมีชื่อผู้เขียน ผู้เรียบเรียงหรือผู้แปล โดยแจ้งชื่อ นามสกุลจริง ตำแหน่งผู้เขียนบทความ สถานที่ทำงานและหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล์ ที่สามารถติดต่อได้สะดวก