ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

เกรียงไกร อุปชัย
คณิสร ต้นสีนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม (STSE) 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ สิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีวิไลวิทยาที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา 4 2) แบบประเมินสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และ 3) แบบสังเกตสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1) สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  เรื่อง ระบบย่อยอาหารอยู่ในระดับสูง
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีพัฒนาการทางสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในแต่ละด้านเพิ่มขึ้นในแต่ละสถานการณ์โดยเรียงจากสมรรถนะที่มีการพัฒนามากที่สุดไปหาสมรรถนะที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด ได้แก่ สมรรถนะการสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม สมรรถนะการสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน และสมรรถนะการเลือกวิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Nakleh, M.B. (1992). Why some students don’t learn chemistry (Electronic version). Journal of Chemical Education, 69, 191- 216. https://www.scirp.org/reference/referencespapers?referenceid=74317

OECD. (2013). PISA 2015 draft collaborative problem-solving framework. https://www.oecd-ilibrary.org/education/pisa-2012-assessment-and-analytical-framework_9789264190511-en

Richardson, G. & Blades, D. (2000). Social Studies and Science Education: Developing World Citizenship Through Interdisciplinary Partnerships. Department of Secondary Education.

Yager, R. E. (1990). The science/technology/society movement in the United States: Its origin, evolution, and rationale. Social Education, 54, 198-200.

Yager, R. E. (1991). The constructivist learning model: Towards real reform in science education. The Science Teacher, 58(6), 52–57.

Yoruk, N. E. et al. (2010). The effects of science, technology, society, and environment (STSE) education on students ‘career planning. http://www.eric.ed.gov/ERICDocs/data/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กระทรวงศึกษาธิการ. https://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ยุตาคม. (2542). หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน STS Model. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 14(3), 29-48

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีรียาสานส์.

พงษ์เทพ บุญศรีโรจน์. (2544). วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วารสาร สสวท, 29(112), 36-39.

รุ่งทิวา กองสอน และพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมีตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน. Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 50-64.

วรางคณา ทองนพคุณ. (2554). ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คืออะไรมีความสำคัญอย่างไรในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). Science Technology and Development. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. https://www.scisoc.or.th/journal.php

สุดารัตน์ อะหลีแอ. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2549). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม. สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. https://www.onep.go.th/book/แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงศึกษาธิการ. https://www.bic.moe.go.th

อัมพวา รักบิดา. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.