การส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กล่องกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่

Main Article Content

ณัฐพล วงศ์เสนา
อภิชญา ลาธุลี
อริย์ธัช สมโชค

บทคัดย่อ

กล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ครูและส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและสร้างกล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นก่อนและหลังการใช้กล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้กล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 38 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) กล่องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.80/82.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนที่ใช้กล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และ 3) นักเรียนที่ใช้กล่องกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abdi, A. (2014). The Effect of Inquiry-based Learning Method on Students’ Academic Achievement in Science Course. Universal Journal of Educational Research, 2 (1), 37–41. https://doi.org/10.13189/ujer.2014.020104

Bybee, R., Taylor, J., Gardner, A., Scotter, P., Powell, J., Westbrook, A., & Landes, N. (2006). The BSCS 5E Instructional Model: Origins, Effectives, and Applications. BSCS.

Dangchaiyaphum, T., & Suttiwan, W. (2019). Learning management by using the activity package in cell for grade 7 students in chumchon ban bungkhla witthaya school. Journal for Social Sciences Research, 10(1), 104115. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ssr/article/view/210833

Galos, R. S. (2022). Science Learning Activity Packets (SciLAPs) on the Assessment of Learning Performance. International Journal of Research Publication and Reviews, 3(7), 1800-1810.

Pasana Chularut. (2018). Learning Management for Students in the Thailand 4.0 Era. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(2), 2363–2380. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/144570

Pholphimai, P., Charoontham, O., & Suttiwan, W. (2020). The Development of Science Learning Achievement and Critical Thinking Skills of Mathayomsuksa 1 Students of Wat Thamnawa School by Using Learning’s Packages about the Atmosphere. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 6(3), 73–86.

กมลวรรณ มิตรกระจ่าง. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรื่อง โลกของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 6(1), 67–81.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560ก). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1.). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560ข). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กระทรวงศึกษาธิการ. https://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, สมเชาว์ เนตรประเสริฐ, และ สุดำ สินสกุล. (2520). ระบบสื่อการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร โชติชุ่ม. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 57–68.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2.). สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2551). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7.). สุวีริยาสาส์น.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2540). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. ไทยวัฒนาพานิช.

เมธาวดี ใหมคำ, มารศรี กลางประพันธ์, และ สมเกียรติ พละจิตต์. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังมโนทัศน์ และการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(65), 69–84.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. http://nscr.nesdc.go.th/ns/

สุวธิดา ล้านสา, และ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 9(2), 1334–1348.

อัมพร พลสิทธิ์, สุธี พรรณหาญ, และ ศักดิ์ สุวรรณฉาย. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการกับเทคนิคการรู้คิด. วารสารสารสนเทศ, 15(1), 103–113.