ประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน: กรณีกิจกรรมสะพานจากหลอดดูด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลกระทบของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างสะพานจากหลอดดูดและไม้จิ้มฟันต่อการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันของนักเรียน ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการวิจัยครั้งนี้ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยได้แก่นักเรียนจำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมตามกรอบแนวคิดทักษะความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่มีการทำงานร่วมกันอย่างเปิดเผยและสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องได้แสดงความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า นอกจากนี้ การใช้วัสดุพื้นฐานที่ไม่มีความซับซ้อนยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถทดลองและสำรวจวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างโครงสร้างได้อย่างอิสระ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในหลักการวิศวกรรมและฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสะพาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
Choe, H. (2021). Enhancing engineering students' teamwork skills: Strategies for effective group work. International Journal of Engineering Education, 37(1), 29-40.
Gillies, R. M. (2004). The effects of cooperative learning on junior high school students during small group learning. Learning and instruction, 14(2), 197-213.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2003). Joining together: Group theory and group skills (8th ed.). Allyn and Bacon.
Kent, A. C., Boyles, J. L., & Chen, K. (2018). The importance of teamwork in engineering education. Journal of Engineering Education, 107(3), 393-410.
Murcia, K., Pepper, C., Joubert, M., Cross, E., & Wilson, S. (2020). A framework for identifying and developing children's creative thinking while coding with digital technologies. Issues in Educational Research, 30, 1395-1417.
OECD. (2019). PISA 2018 Results. OECD Publishing.
Murcia, K. (2020). The 'A' to 'E' of creativity: A framework for young children’s creativity. Early Childhood Education Journal, 48(3), 351-362.
Zhou, C., Kolmos, A., & Nielsen, J. F. D. (2020). A problem and project-based learning (PBL) approach to motivate group creativity in engineering education. International Journal of Engineering Education, 26(3), 505-515.
The Organization for Economic Cooperation and Development. (2019). Education for 21st-century skills: Insights and assessments. OECD Publishing.
ปฐมพงษ์ ชุ่มมงคล, ไพเราะเสาะ สมบูรณ์, และโชคชัย ยืนยง. (2023). การสร้างความเชื่อใจในวิจัยเชิง คุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online), 3(2), 107-120.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). การศึกษาเพื่ออนาคต: แนวทางการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.