การศึกษาคำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นที่ปรากฏในนวนิยาย “เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน” ของ “มาลา คำจันทร์”

Main Article Content

ปุ่น ชมภูพระ
พัทธนันท์ พาป้อ
ปพิชญา พรหมกันธา
กุสุมา สุ่มมาตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาคำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นที่ปรากฏในนวนิยาย “เจ้าจันท์ผมหอมนิราศพระธาตุอินทร์แขวน” ของ “มาลา คำจันทร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำภาษาต่างประเทศ และคำภาษาถิ่นที่ปรากฏในนวนิยาย “เจ้าจันท์ผมหอมนิราศพระธาตุอินทร์แขวน” ของ “มาลา คำจันทร์” ผลการวิจัยพบว่า


1) คำภาษาต่างประเทศที่ปรากฏในนวนิยาย “เจ้าจันท์ผมหอมนิราศพระธาตุอินทร์แขวน” ของ “มาลา คำจันทร์” ปรากฏคำยืมจาก 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต คำที่เป็นได้ทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว


2) คำภาษาถิ่นที่ปรากฏในนวนิยาย “เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน” ของ “มาลา คำจันทร์” ปรากฏคำภาษาถิ่น 3 ถิ่น ได้แก่ คำภาษาถิ่นเหนือ คำภาษาถิ่นอีสาน คำที่เป็นได้ทั้งภาษาถิ่นเหนือ-อีสาน และคำภาษาถิ่นอีสาน-ใต้


3) จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่า “เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน” มีลีลาในการนำเสนอที่โดนเด่นเฉพาะตัว มีเสน่ห์ด้านการใช้ภาษาในการเล่าเรื่อง โดยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ผ่านการใช้คำยืมภาษาต่างประเทศที่หลากหลาย เกิดความสละสลวย ผสมผสานกับการเล่าเรื่องโดยใช้คำภาษาถิ่นโดยเฉพาะภาษาถิ่นเหนือ ทำให้การดำเนินเรื่องมีความลื่นไหลเป็นธรรมชาติ ช่วยให้เกิดจินตภาพสำหรับผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกของความเป็นนวนิยายอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ชญานนท์ เนื่องวรรณะ, ปพิชญา พรหมกันธา, พัทธนันท์ พาป้อ และปุ่น ชมภูพระ. (2565). กลวิธีการใช้ภาษาบทกวีนิพนธ์ของพิบูลศักดิ์ ละครพล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 10(2), 162-179.

ณัฐา วิพลชัย. (2558). ลักษณะคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เรื่อง พระมหาชาดกคำกาพย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 17-46.

ธวัช ปุณโณทก. (2561). ภาษาถิ่นของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิภาภัทร เทศหมวก. (2549). ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวเหนือในเรื่องสั้นของมาลา คำจันทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นุชารัตน์ มุงคุณ. (2563). กลวิธีการใช้ภาษาในการประกอบสร้างอัตลักษณ์เจ้านางชั้นสูงล้านนา ของ มาลา คำจันทร์ ในนวนิยายเรื่อง เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 270-280.

พรศิริ ปินไชย. (2563). ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือในนวนิยายที่ได้รับรางวัลของ มาลา คำจันทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภคภต เทียมทัน. (2565).ลีลาภาษาในวรรณกรรมนิทานของมาลา คำจันทร์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาภาษาในวรรณกรรมนิทานของมาลา คำจันทร์. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 41(1), 25-44.

ภัทรลักษณ์ ชินประภาพ. (2558). เจ้าจันท์ผมหอมของ มาลา คำจันทร์: การวิเคราะห์วิธีการซ้อนคำและความหมายหลักความหมายรอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มัลลิกา มาภา. (2559). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มาลา คำจันทร์. (2558). เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน (พิมพ์ครั้งที่ 17). เคล็ดไทย.

ลภัสรินทร์ ฉัตรวังคีรี. (2561). ชุมชนทางชิติพันธุ์และศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้ากับการประกอบสร้างอัตลักษณ์ล้านนาในวรรณกรรมของมาลา คำจันทร์ และพิบูลศักดิ์ ละครพล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(2), 37-66.

วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2560). ภาษาไทยถิ่น. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สันติวัฒน์ จันทร์ใด. (2550). การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือในการสร้างสรรค์นวนิยายของมาลา คำจันทร์. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัคธัช สุธนภิญโญ. (2565). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา THC3321 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อัษฎาวุธ โสรส, พัทธนันท์ พาป้อ, ปพิชญา พรหมกันธา และปุ่น ชมภูพระ. (2561). การวิจัยการใช้คำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นในรวมบทกวีนิพนธ์ “วิมานลงแดง” ของ “อังคาร จันทาทิพย์”. วารสารปัญญา, 25(1), 14-22.