คุณค่าและลักษณะเด่นของหนังสือธรรมะในมิติการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Main Article Content

กุสุมา สุ่มมาตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “หนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน: การสื่อสารสารัตถธรรมและการสร้างอุดมการณ์”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของหนังสือธรรมะในมิติภาษาไทยการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2) เพื่อสังเคราะห์ลักษณะเด่นของหนังสือธรรมะในมิติการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารซึ่งมีขอบเขตข้อมูลหนังสือธรรมะของพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์หรือพระอาจารย์เทสก์ พระธรรมวิสุทธิมงคลหรือพระอาจารย์มหาบัว ผลการศึกษาพบว่า คุณค่าของหนังสือธรรมะในมิติภาษาไทยประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) การใช้คำเดี่ยวเพื่อแสดงเจตนาสอน 2) การใช้คำแสดงกิจวัตรของพระสงฆ์และคำบอกคุณสมบัติของพระสงฆ์ 3) การใช้คำแสดงการปฏิบัติธรรม
4) การใช้อุปลักษณ์ 5) การใช้ประโยค 6) การใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์  สังเคราะห์ลักษณะเด่นของหนังสือธรรมะในมิติภาษาไทยประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) การได้องค์ความรู้เรื่องอื่นโดยอ้อม 2) การสอนจากประสบการณ์ปฏิบัติ 3) การมุ่งให้ปฏิบัติตามคำสอนเพื่อความสงบสุขแห่งจิตใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กุสุมา สุ่มมาตร์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย

ปีการศึกษา 2565 – ปัจจุบัน ผู้ทรงคุณวุฒิ วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). เส้นทางงานศึกษาการสื่อสารกับศาสนาในสังคมไทย. ใน การสื่อสาร ศาสนา กีฬา. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ช่อฟ้า เกตุเรืองโรจน์. (2553). กระบวนการและกลวิธีการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดพุทธธรรมในหนังสือธรรมะของ ว.วชิระเมธี [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). (2538). ธรรมคู่แข่งขัน ธรรมสามัคคี (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชวนพิมพ์.

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). (2552). เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). พรีมาพับบลิชชิง จำกัด.

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). (2557). ประวัติหลวงตา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรํสี). (2538). ชีวิต การงาน หลักธรรม พระอาจารย์เทสก์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรํสี). (2548). พระธรรมเทศนาของพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรํสี) (พิมพ์ครั้งที่ 3). รุ่งเรืองการพิมพ์.

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรํสี). (2539). รวมโอวาทหลังปาฏิโมกข์. บุญศิริการพิมพ์.

พิสิทธิ์ กอบบุญ. (2542). ลีลาและวรรณศิลป์ในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2503-2544 : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.