การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 331 คน โดยการเปิดตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างวิจัยของเครจซีและมอร์แกน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความสอดคล้องรายข้ออยู่ระหว่าง .80 – 1.00 และค่าความเที่ยง .94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1. ) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า 1.1) สภาพปัจจุบันด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูดคือ ด้านมนุษยธรรม รองลงมา คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมาภิบาล ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐกิจ 1.2) สภาพที่พึงประสงค์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด คือ ด้ามนุษยธรรม รองลงมา คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมาภิบาล ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐกิจ 2) การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ ด้านกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านมนุษยธรรม ด้านธรรมาภิบาล และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organization Stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39-48.
International Organization for Standardization. (2010). ISO 26000: Guidance on social Responsibility International Standard. Intentional Organization for Standardization.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Kotler, P., & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for Company and Your Cause. Wiley.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. บริษัท เมจิกเพรส จำกัด.
เทียนชัย นาคแผ่น. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่10). บริษัท สุวีริยาสาส์นจำกัด.
ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดเทศบาล. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร. ธิงค์บียอนด์ บุ๊คส์.
ภัทรพร จันทร์เปรม และศักดา สถาพรวจนา. (2565). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. Journal of MCU Ubon Review, 8(3), 925-936.
ภิรมย์ ลี้กุล. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตน์ชัย ศรสุวรรณ. (2557). การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 813-825).
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2563). ISO 26000 แนวทางแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม. สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภณกพรโชคชัย. (2552). CSR ที่แท้จริง. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.