ความภูมิใจในการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชมรมคีตวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่มีต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมโครงการเสวนาวิชาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความภูมิใจในการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชมรมคีตวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในกิจกรรมโครงการเสวนาวิชา
2. เพื่อเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมและการจัดกิจกรรมต่อความสำเร็จโครงการ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาชมรมคีตวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการในปีการศึกษา 2567 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จากนักศึกษาชมรมที่เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินระดับความภูมิใจและแสดงความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson's correlation ผลการวิจัยพบว่า
1. ความภูมิใจในการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชมรมคีตวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในกิจกรรมเสวนาวิชาการ มีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมาก (4.66) มีค่kสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (0.84) แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความรู้สึกภูมิใจในการมีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกัน มีความพึงพอใจและสนับสนุนซึ่งกันและกันมากขึ้นส่งผลต่อการมีส่วนร่วมที่ดีในการจัดกิจกรรมโครงการ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมและการจัดกิจกรรมต่อความสำเร็จโครงการ มีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมาก (4.65) มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (0.85) แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างความพึงพอใจและความสำเร็จ บ่งบอกถึงผลกระทบเชิงบวกในการมีส่วนร่วมของนักศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างความพึงพอใจและความสำเร็จของโครงการ
3. ผลการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า คะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมาก (4.53) แต่การสนับสนุนจากอาจารย์และบุคลากรยังไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 3.64 สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของอาจารย์และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนานักศึกษา มีคะแนนรวมเฉลี่ยของค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.73 ซึ่งอยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่าทุกปัจจัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
Astin, A. W. (1984). Student involvement: A developmental theory for higher education. Journal of College Student Personnel, 25(4), 297–308.
Freeman, S., Eddy, S. L., McDonough, M., Smith, M. K., Okoroafor, N., Wenderoth, M. P., & Pollock, S. J. (2014). Active learning increases student performance in science, engineering, and mathematics. Proceedings of the National Academy of Sciences, 111(23), 8410-8415.
Okolie, U. C., Mlanga, S., Oyerinde, D. O., & Nathaniel, O. O. (2021). Collaborative learning and student engagement in practical skills acquisition. Innovations in Education and Teaching International, 59(2), 1–10.
Richard L. Miller et al. (2011). The effects of high impact learning experiences on student engagement. Cambridge. Procedia Social and Behavioral Sciences, 15(2011), 53–59.
Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). The "what" and "why" of goal pursuits: Human needs and the self-determination of behavior. Psychological Inquiry, 11(4), 227-268.
Sharma, R., Ali, R., & Ahmed, N. (2020). The impact of participation in academic activities on students' self-esteem and confidence. International Journal of Educational Psychology, 9(3), 315-334.
Youngren, J. (2021). Impacts of collaborative learning on student engagement. (2021). Dissertations, Theses, and Projects. 483.
Vygotsky, L. S. (1978). Interaction between learning and development. In M. G. S. Cole (Ed.), Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes (pp. 79-91). Cambridge, MA: Harvard University Press.
Zheng, M., Zhang, X., & Wang, S. (2020). Creating an open and friendly learning environment to improve student participation in collaborative learning. Journal of Educational Technology & Society, 23(2), 45-57.
ธัญญารักษ์ บัวหลวง. (2566). การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในโครงการพัฒนาศักยภาพ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2565). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 12). สุวีริยาสาส์น.
พระมหาวิชาญ กนฺตสีโล, พระราชศักดิ์ จริยโสภโณ, พระกนก กนฺตสีโล, ไสว คำสุวรรณ และการัณย์ พรหมแก้ว. (2562). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ศูนย์ประสานงานจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2561. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1914-1932.
มัลลิกา พิทักษ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนสตรีนนทบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วลัยทิพย์ เปรมทวีธนโชติ. (2557). การศึกษาลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษากับคุณลักษณะ
ด้านจิตอาสาของนิสิตนักศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(3), 819-833.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). หลักสูตรฝึกอบรมนิสิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
หนึ่งฤทัย มะลาไวย์, อรพินทร์ ชูชม และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ พงศ์. (2564). การทำงานเป็นทีมของนักเรียน : ปัจจัยเชิงสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 425-438.
อดุลย์ วิริยเวชกุล. (2542). การเรียนรู้ตลอดชีวิต. พริ้นต์โพร.