การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล โดยการวิจัยมี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาสมรรถนะครู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนอนุบาลศรีวิไล จำนวน 58 คน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล จำนวน 48 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูสู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก (M= 4.09, SD=0.52; M= 4.48, SD=0.58) 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินการของรูปแบบ มีขั้นตอนได้แก่ การวิเคราะห์บริบทและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนร่วมกัน (Context analysis) การสร้างความตระหนักความเข้าใจร่วมกัน (Awareness and Attempt) การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ (Reskills and upskills) การนิเทศ ติดตามและการประเมินผลอย่างเป็นระบบ (Evaluation) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอด (Development) 4) การประเมินรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับสูงมาก และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.75, SD=0.44) 4. ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่าผลการประเมินทั้งสามด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.58, SD=0.53; M= 4.54, SD=0.54; M= 4.65, SD=0.46)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
Marsick, V. J., & Watkins, K. E. (1993). Sculpting the learning organization: Lessons in the art and science of systemic change. Jossey-Bass.
เกียรติศักดิ์ สุทธิ, ฉลาด จันทรสมบัติ, และพา อักษรเสือ. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบพึ่งตนเองของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดกู่สามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 261–274.
คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. ใน ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัยบทความวิชาการ พ.ศ. 2561 (น. 131–139). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เชาวรินทร์ แก้วพรม, จำเนียร พลหาญ, และชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 195–212.
ดารกา บุญกาญจน์. (2563). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี, 4(3), 345–357.
ธงชัย คำปวง. (2561). การพัฒนาครูแบบองค์รวมโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธิดากาญจน์ หินเดช, สังวาร วังแจ่ม, ทัศนีย์ บุญมาภิ, และสุรศักดิ์ สุทธสิริ. (2567). การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 9(1), 825–836.
ปวีณ์รัตน์ อนุภาพ. (2565). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โรงเรียนบ้านป่าแหย่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 1076–1090.
มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). วิชาชีพครู. โอเดียนสโตร์.
โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล.
วนิดา ภูชำนิ, วัฒนา สุวรรณไตรย์, และไชยา ภาวะบุตร. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 155–169.
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 12). เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
วีระภัทร ไม้ไหว. (2560). การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ระดับประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2558 (IMD2015). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การส่งเสริมกระบวนการ PLC ให้มีประสิทธิผล. ใน สำนักงานเลขาธิการ (บ.ก.), การประชุมทางวิชาการคุรุสภา ประจำปี 2561 เรื่อง “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: พลังขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย” (น. 26–40). โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค. ลาดพร้าว.
อรชร ปราจันทร์, และสุกัญญา แช่มช้อย. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น, 12(1), 156–169.