การพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom’s Taxonomy)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชายและหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี และที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 1 ห้อง จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) จำนวน 24 แผน 2) แบบประเมินทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย The One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่า t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) มีผลต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการฟังและการพูด ด้านการอ่าน ด้านการเขียน จากการจัดประสบการณ์ที่มีการจัดกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ และการใช้เทคนิคการเล่านิทานที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม การสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็นทำให้เด็กเกิดความสนใจมากขึ้น พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) มีทักษะทางภาษาที่สูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives: Complete Edition. Longman.
Huai Le, R. P., Karuppiah, N., & Yue, Y. (2020). Questioning during story-telling activities in Singapore pre-schools. Asia-Pacific Journal of Research in Early Childhood Education, 14(3), 73-90.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. เบน-เบสบุ๊ค.
ณิรัชญา ยี่สุ่นเรือง. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์สุพรรณบุรี.
ทิพย์อักษร พุทธสริน. (2567). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ร่วมกับการใช้คําถามตามแนวคิดของบลูม. Journal of Buddhist Education and Research, 10(4), 293-307.
ภิญญาดาพัชญ์ เพ็ชรรัตน์. (2551). การศึกษาความเข้าใจของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัยในจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รอฮันนี เจะเลาะ. (2561). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ใช้นิทานประกอบภาพ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2565). เคมีวิเคราะห์: หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาลาดพร้าว.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการ แนวคิดและทิศทางในการดำเนินงาน. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.